ทส. เคาะตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ยกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ปี 67

ทส. เคาะตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ยกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ปี 67

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบแก่ประชาชนแทบจะทุกพื้นที่ โดยรัฐบาลเองก็พยายามจะดำเนินการแก้ไขมาตลอด แต่ปัญหาฝุ่นก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหน 

ทั้งนี้ฝุ่นควันเริ่มมีแนวโน้มเกินมาตรฐานเฝ้าระวังมาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้กรมควบคุมมลพิษเริ่มเดินหน้าทันที ทั้งนี้ได้มีการประชุมเพื่อยกระดับมาตราการป้องกันและระดับการแจ้งเตือนภัย 

โดยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 4/2566 โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่รองประธานกรรมการ ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้วาระการประชุมที่สำคัญคือ การเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในช่วงปีงบประมาณ 2567 ประกอบด้วย การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และ “มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ปี 2567” 

นอกจากนี้ยังมีมติเห็นชอบให้เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละออก ให้เป็นไปตามกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เพื่อยกระดับมาตราการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง และพื้นที่การเกษตร รวมถึงหมอกควันข้ามแดน 

ทั้งนี้ยังภาครัฐยังอาศัยการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาหมอกควัน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน 

สาเหตุที่ทำให้ภาครัฐต้องหันมาให้ความสนใจกับประเด็น PM 2.5 อย่างจริงจัง เนื่องจาก นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) คาดการณ์ถึงสถานการณ์ความรุนแรงของเอลนีโญตั้งแต่ช่วงปลายฝนจนถึงฤดูร้อนปีหน้าว่าจะทำให้อุณหภูมิและอากาศสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ยังทำให้พื้นที่ประเทศไทยแล้งมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้อาจส่งผลต่อสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในปี 2567 ให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น 

เปรียบเทียบสถิติระหว่างปี 2566 และ 2565 ค่าฝุ่น PM 2.5 มีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกันในช่วงเวลาเดียวกันของทั้งสองปี โดยในช่วงตั้งแต่ พ.ย. 2565-31 มีนาคม 2566 พื้นที่กทม.และปริมณฑล มีปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่า 33 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 18% โดยมีวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตราฐาน 52 วัน เพิ่มขึ้น 184%  

ส่วนในจังหวัดภาคเหนือ ฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่า 62 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 107% 

มาตราการจัดการฝุ่น 

ที่ประชุมฯ เห็นชอบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะสั้น เช่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากภาคการเกษตร โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเร่งด่วน ตลอดจนเสนอแนะเชิงนโยบายระยะยาว อาทิ เพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเห็นชอบ (ร่าง) รายงานสถานการณ์ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2566 และ (ร่าง) แผนการบริหารจัดการ EPI ของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล 

ในปี 2567 นี้ ภาครัฐได้ยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ  PM 2.5 เช่น กำหนดพื้นที่เป้าหมาย โดยเน้นพื้นที่เผาซ้ำซาก 50% และกำหนดเป้าลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรลงให้ได้ร้อยละ 50 หรือลดลง 3.25 ล้านไร่ จากปีนี้ ซึ่งมีพื้นที่เผาไหม้อยู่ที่ 66% หรือ 6.5 ล้านไร่ ทั้งในป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ 

อย่างไรก็ดี ยังตั้งเป้าหมายจำนวนวันที่ฝุ่นเกินมาตราฐานต้องลดลงเป็นรายภาค เช่น 17 จังหวัดภาคเหนือ จาก 40% เป็น 30% ส่วนกทม. ปริมณฑล และภาคกลาง จาก 20% เป็น 5% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 10% เป็น 5% 

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า “ในส่วนของ ทส. ได้มีการดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีเป็นการเร่งด่วน โดยได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีการรายงานสถานการณ์ประจำวัน และการคาดการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในทุกวัน  เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมแนวทางการปฏิบัติตัว” 

อ้างอิง

ภาพประกอบ

ผู้เขียน

+ posts

หนุ่มน้อยผู้หลงรักความไม่สมบูรณ์แบบ ออกเดินทางเพื่อเก็บภาพความงดงามของธรรมชาติ และชอบอ่านวรรณกรรมเป็นชีวิตจิตใจ

Tags from the story: