ติดตามการเจรจายุติโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อนท่าแซะ โดยกลุ่มสมัชชาคนจน 

ติดตามการเจรจายุติโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อนท่าแซะ โดยกลุ่มสมัชชาคนจน 

กลุ่มสมัชชาคนจนได้เดินทางมาชุมนุมเพื่อเข้าเจรจากับรัฐบาล โดยการเจรจาในครั้งนี้มี เป้าหมายหลักในการเจรจา คือ ปัญหาเขื่อน 7 แห่ง ประกอบด้วย เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนราษีไศล จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด เขื่อนหัวนา จ.ศรีสะเกษ เขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ โครงการก่อสร้างเขื่อท่าแซะ จ.ชุมพร โครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ โดย แก่งเสือเต้น เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการเจรจาในครั้ง

1. ขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือเขื่อนยมบน – เขื่อนยมล่าง (แม่น้ำยม) จังหวัดแพร่

2. การดำเนินโครงการพัฒนาใด ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมจะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาบนทิศทางความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงในชีวิตของประชาชน 

3. รัฐบาลต้องบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมในรูปแบบ  “สะเอียบโมเดล” ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

นายดนัย บุญทิพย์ คณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาคนจน ที่มาร่วมชุมนุมเจรจากรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นในครั้งนี้ ได้กล่าวถึงกรณีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไว้ว่า “แทบจะทุกครั้งที่เกิดปัญหาน้ำแล้งหรือน้ำท่วม ทุกรัฐบาลมักจะยกเอาประเด็นการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมา ใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาอันดับแรก ๆ เสมอ กว่า 30 ปีที่คนอำเภอสะเอียบ และผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่ต้องการเขื่อนแก่งเสือเต้นมาโดยตลอด” 

ดนัย บุญทิพย์ คณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาคนจน

การเจรจาเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มผู้เดือดร้อนเข้าเจรจากับ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วย กรณีปัญหาของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โดย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รับจะกำหนดลงพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อนเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อไป แต่ยังระบุไม่ได้ว่าจะลงพื้นที่ได้วันไหน

ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่การเข้าเจรจาในรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ทว่าครั้งนี้กลับไม่มีตัวแทนจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เข้าร่วมประชุมด้วยแต่อย่างใด ทำให้ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการนัดเจรจากันอีกครั้งในรอบถัดไป 

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2566 กลุ่มสมัชชาคนจนได้มีการเข้าเจราจารอบที่ 3 เข้าเจรจากรณีปัญหา ของแต่ละพื้นที่ที่ยังเจรจาไม่จบ โดยครั้งนี้กรมชลประทานและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีความเห็นร่วมกันว่า จะยกเลิกเขื่อนท่าแชะและเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีรับรองต่อไป

ผู้เขียน

+ posts

หนุ่มน้อยผู้หลงรักความไม่สมบูรณ์แบบ ออกเดินทางเพื่อเก็บภาพความงดงามของธรรมชาติ และชอบอ่านวรรณกรรมเป็นชีวิตจิตใจ