สรุปเนื้อหา COP27

สรุปเนื้อหา COP27

ถ้อยแถลงของไทยบนเวที COP27

ตั้งแต่การประชุม COP26 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ทำตามสิ่งที่เราให้คำมั่นไว้ เราไม่ได้แค่พูด แต่เราทำกันจริงๆ 

ประเทศไทยมาเข้าร่วมประชุม COP27 พร้อมยุทธศาสตร์ระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจำต่ำ (LTLED) คือการบรรลุความเป็นกลางางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนประจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2065 

รวมทั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ที่เพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2030 หากได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ

ประเทศไทยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับประเทศอื่นในโลก โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับประชาชน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ในฐานะเจ้าภาพเอเปค เราเชื่อว่าเป้าหมายของกรุงเทพฯ ว่าด้วย BCG Model จะเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อช่วยบูรณาการความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน การดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการของเสีย 

ไม่มีใครรอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว เราได้เร่งดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน เราตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ของการผลิตทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2050 และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เพื่อการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเชิงพาณิชย์ ก่อนปี ค.ศ. 2040 เราส่งเสริมการใช้วัสดุดดแทนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมทำความเย็น นำร่องวิธีการปลูกข้าวทางเลือกแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ 

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท 55 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ. 2037 ขณะเดียวกัน เพื่อดำเนินการตามแนทางความร่วมมือ ภายใต้ความตกลงปารีส เราได้จัดทำแนวทาง และกลไกบริหารการจัดการคาร์บอนเครดิต ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มทำความตกลงเพื่อถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส 

เราเชื่อมั่นว่า เรามารวมตัวกัน ณ ที่ประชุมแห่งนี้ เพื่อทำมากกว่าแค่พูดเท่านั้น เราต้องมีการดำเนินการในทุกด้าน และเราต้องเริ่มเดี๋ยวนี้ ผมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือกันของมนุษยชาติว่าเราจะสามารถกำหนดอนาคตของเราได้ ผมมั่นใจว่าหากเราร่วมมือกัน เราจะสามารถเอาชนะความท้าท้ายนี้ที่เราสร้างขึ้นมาเองได้ การร่วมมือร่วมใจ จะทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ 

หมายเหตุ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม COP27 ที่ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 

กลับหน้าแรก