สิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการหลายล้านปีอาจจะต้องจบลงในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า 

สิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการหลายล้านปีอาจจะต้องจบลงในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า 

ท่ามกลางการพัฒนาของมนุษย์อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ได้สร้างภัยเงียบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผกผันไม่เสถียร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ ที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้มากกว่าหลายล้านปีหรือมากกว่านั้น 

การศึกษาล่าสุดได้เน้นย้ำถึงอนาคตอันหายนะของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ได้เผยให้เห็นความหลากหลายทางชีวภาพที่ใช้เวลาวิวัฒนาการหลายล้านปีนั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายอย่างถาวรเช่น ในปี 2022 ปลาฉลามปากเป็ดจีน (Chinese Paddlefish) ที่มีการวิวัฒนาการมากกว่า 190 ล้านปีหนึ่งในปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกําเนิดในแอ่งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำฮวงโหของจีนได้รับการประกาศว่าสูญพันธุ์ 

การศึกษาครั้งใหม่ได้ประเมินว่าการสูญเสียสายพันธุ์เป็นเอกลักษณ์และถูกคุกคามดังกล่าวบนโลกปัจจุบัน ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร (Jawed vertebrates) ซึ่งประกอบไปด้วย ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และปลาส่วนใหญ่ เพียงอย่างเดียว สามารถทำลายคุณค่าประวัติศาสตร์ของการวิวัฒนาการ ซึ่งหมายถึง ระยะเวลาสะสมที่ชนิดและบรรพบุรุษมีวิวัฒนาการ ภายในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระหว่างแปดหมื่นหกพันล้านถึงหนึ่งเเสนหกหมื่นล้านปี (ของสิ่งมีชีวิตโดยรวมจากหลายชนิดพันธุ์) ในอีก 50 – 500 ปีข้างหน้า การฉายภาพนี้มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจอันซับซ้อนว่าสายพันธุ์ต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และแต่ละชนิดเป็นตัวแทนของกิ่งก้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบนต้นไม้แห่งชีวิตอย่างไร เมื่อเราสูญเสียสายพันธุ์ เราจะสูญเสียกิ่งก้านจากต้นไม้ต้นนี้ แต่ละต้นมีประวัติและการดัดแปลงที่เป็นเอกลักษณ์

ฉลามว่ายน้ำอย่างสง่างามในมหาสมุทรของเรามานานกว่า 400 ล้านปี โดยเฉลี่ยมีวิวัฒนาการที่เป็นเอกลักษณ์กว่า 26 ล้านปีสำหรับแต่ละชนิดพันธุ์ น่าเสียดายที่อนาคตของพวกมันไม่แน่นอน แม้ว่าครั้งหนึ่งเคยมีการรับรองความได้เปรียบทางวิวัฒนาการ เช่น โครงกระดูกกระดูกอ่อนและแผนร่างกายที่มีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันความอยู่รอดของพวกมันถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากการประมงเกินขนาด (Overfishing) 

การศึกษาสายวิวัฒนาการที่เปรียบเทียบสารพันธุกรรมข้ามสปีชีส์เพื่อสร้าง แผนภูมิต้นไม้ครอบครัว (Family tree) ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ การศึกษาเหล่านี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าเชื้อสายที่แตกต่างกันมีการพัฒนาอย่างเป็นอิสระมานานแค่ไหน 

สถานการณ์ของเต่าทะเล (Turtle) และเต่าบก (Tortoise) ก็น่าตกใจไม่แพ้กัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนานกว่า 250 ล้านปี ซึ่งคิดเป็นเพียง 0.5 เปอร์เซ็นต์ ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เต่าถูกคิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ ของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการภายในในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานที่เก่าแก่ที่สุด ที่น่าสนใจคือพวกมันมีอายุมากกว่างู กิ้งก่า และจระเข้ เป็นเวลากว่าล้านปีที่เต่าได้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยรอดชีวิตจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หลายครั้ง แต่น่าเสียดายที่กระบวนการวิวัฒนาการของพวกมันตกอยู่ในความเสี่ยงเนื่องจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย การทำเกษตรกรรม และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ตะโขงอินเดีย (Gharial) ได้มีการวิวัฒนาการแตกออกจากกลุ่มสายพันธุ์จระเข้เมื่อ 40 ล้านปีก่อน มีสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งสามารถพบได้ในแม่น้ำของอนุทวีปอินเดีย (Indian subcontinent) สิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งเหล่านี้มีเอกลักษณ์จากจมูกที่ยาวและแคบ ซึ่งปรับให้เข้ากับการจับปลาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตัวผู้สามารถยาวได้ถึง 6 เมตร และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 

แต่น่าเสียดายที่กิจกรรมของมนุษย์กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรตะโขงในธรรมชาติ การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเขื่อนในแม่น้ำและการทำเหมืองทราย ได้สร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อแหล่งอาหารและจำนวนประชากร  

การลบล้างมรดกทางวิวัฒนาการนับล้านปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่สนับสนุนเครือข่ายชีวิตที่ซับซ้อนบนโลกของเรา แต่ละชนิดมีบทบาทที่แตกต่างกันในระบบนิเวศ โดยมีส่วนช่วยในงานต่างๆ เช่น การเป็นผู้คัดสรร การกระจายเมล็ด และการหมุนเวียนสารอาหาร การลดลงและการสูญพันธุ์ในที่สุดมีผลกระทบในวงกว้าง นำไปสู่ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมและการสูญเสียนิเวศบริการ (Ecosystem service) ที่มนุษย์ต้องพึ่งพาเพื่อความอยู่รอด

ในสถาณการณ์น่าหดหู่เช่นนี้ ก็ยังมีความหวังอยู่บ้าง  อาทิ ความคิดริเริ่มด้านการอนุรักษ์ที่นำไปสู่การฟื้นตัวของประชากรตะโขงอินเดียในเนปาลได้สำเร็จพิสูจน์ให้เห็นว่าการกระทำที่มุ่งเน้นสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้โดยพบจำนวนประชากรของตะโขง เพิ่มขึ้นประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2023 – 2024 เป็นข้อพิสูจน์ถึงผลกระทบที่สำคัญที่งานอนุรักษ์โดยเฉพาะสามารถมีได้ 

ผลการศึกษาล่าสุดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในความพยายามที่จะวางแผนการอนุรักษ์ในอนาคต การรวบรวมข้อค้นพบเหล่านี้เข้ากับกรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกของสหประชาชาติ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะป้องกันแนวโน้มการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี 2030  ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปกป้องประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกของเรา 

เพื่อจัดการกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีแนวทางหลายแง่มุม แนวทางนี้ควรเกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่คุ้มครองมากขึ้น การบังคับใช้กฎระเบียบด้านการประมงและการล่าสัตว์ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติในการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน การศึกษาและความตระหนักรู้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน เนื่องจากสามารถช่วยสร้างการสนับสนุนจากสาธารณะสำหรับโครงการริเริ่มด้านการอนุรักษ์ได้ 

ขณะที่เรายืนอยู่บนทางแยก การตัดสินใจของเราในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดมรดกของเราสำหรับคนรุ่นอนาคต ระหว่างโลกที่ปราศจากมรดกทางธรรมชาติ หรือโลกที่สิ่งมีชีวิตในความหลากหลายอันน่าทึ่งยังคงเจริญรุ่งเรือง 

อ้างอิง

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia