ปาเลา ประเทศแรกของโลก ให้สัตยาบันปกป้องทะเลหลวง 

ปาเลา ประเทศแรกของโลก ให้สัตยาบันปกป้องทะเลหลวง 

สาธารณรัฐปาเลาซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคโอเชียเนีย (Oceania) เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้กลายเป็นประเทศแรกที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาสหประชาชาติเพื่อปกป้องทะเลหลวง ถือเป็นก้าวสำคัญในความพยายามระดับโลกในการปกป้องมหาสมุทรของโลก 

สนธิสัญญานี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘สนธิสัญญาทะเลหลวง’ (High Seas Treaty) โดยเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ซึ่งออกแบบมาเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของมหาสมุทรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลของประเทศ ซึ่งมักเรียกกันว่าทะเลหลวง พื้นที่เหล่านี้ครอบคลุมเกือบครึ่งหนึ่งของโลกและตั้งอยู่นอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) ในแต่ละประเทศจะขยายออกไปในระยะ  200 ไมล์ทะเลจากแนวชายฝั่ง  

ซึ่งได้มีการรับรองโดยรัฐสมาชิกของสหประชาชาติในเดือนมิถุนายนปี 2023 ที่ผ่านมา หลังจากการหารือกันมานานกว่า 15 ปี สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการออกแบบให้มีผลบังคับใช้ภายใน 120 วันหลังจากได้รับสัตยาบันจาก 60 ประเทศ ซึ่งนักเคลื่อนไหวตั้งเป้าว่าจะบรรลุเป้าหมายภายในปี 2025  

สนธิสัญญาทะเลหลวงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างพื้นที่ทางทะเล ที่ได้รับการคุ้มครองในน่านน้ำสากล ซึ่งปัจจุบันมีเพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่ได้รับการปกป้องโดยมาตรการอนุรักษ์ใด ๆ 

การริเริ่มให้สัตยาบันของปาเลานั้นได้รับการยกย่องจากความมุ่งมั่นต่อการรักษาสุขภาพของมหาสมุทร ซึ่งสะท้อนถึงความพยายามของประเทศในการจัดการและปกป้องทรัพยากรทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ 

ก่อนหน้านี้ ปาเลาได้จัดตั้งส่วนสำคัญของเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ (Marine protected area) โดยห้ามกิจกรรมที่ก่อผลกระทบด้านลบแก่มหาสมุทร เช่น การประมงและการทำเหมืองหรือขุดเจาะภายในเขตนี้​​ 

การให้สัตยาบันตามสนธิสัญญาของปาเลาเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายระดับโลกในการปกป้องมหาสมุทรและที่ดิน 30% ภายในปี 2030 ตามที่ตกลงไว้ในข้อตกลงความหลากหลายทางชีวภาพทางประวัติศาสตร์ (Historic Biodiversity) ซึ่งบรรลุในการประชุม COP15 ที่เมืองมอนทรีออลประเทศแคนาดาในปี 2022 

รวมไปถึงประเทศชิลีและมัลดีฟส์ ยังมุ่งไปสู่การให้สัตยาบันสนธิสัญญา ซึ่งบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในการอนุรักษ์มหาสมุทร​​ 

ทั้งนี้ การตัดสินใจเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการกับความท้าทายที่เผชิญในทะเลหลวง รวมถึงภัยคุกคาม เช่น การขุดเจาะเหมืองในทะเลลึก การประมงเกินขนาด โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นสำหรับกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุม เพื่อรับประกันสุขภาพและความยั่งยืนของมหาสมุทรโลกต่อไปในอนาคต 

อ้างอิง 

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia