ภัยพิบัติต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล เมื่อนอร์เวย์ผ่านกฎหมายการทำเหมืองใต้ทะเลลึกเชิงพาณิชย์

ภัยพิบัติต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล เมื่อนอร์เวย์ผ่านกฎหมายการทำเหมืองใต้ทะเลลึกเชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมารัฐสภานอร์เวย์มีมติให้อนุญาติในการทำเหมืองใต้ทะเลลึกได้ โดยการเปิดพื้นที่กว่า 280,000 ตารางกิโลเมตร 

โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก เพื่อสำรวจแร่ธาตุที่สำคัญในการสร้างเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เช่น ทองแดง สังกะสี และโคบอลต์ ซึ่งจำเป็นต่อผลิตภัณฑ์ จำพวกสมาร์ทโฟน ยานพาหนะไฟฟ้าและแผงโซลาร์เซล สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้นอร์เวยกลายเป็นผู้ผลิตแร่รายใหญ่ที่สุดของยุโรปตะวันตก

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งมากมาย นักสิ่งแวดล้อมและนักวิทยาศาสตร์กำลังส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดภัยพิบัติและแก้ไขไม่ได้ต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล 

พวกเขาโต้แย้งว่าสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลลึกซึ่งส่วนใหญ่ยังมิได้สำรวจและมีสัตว์น้ำจำเพาะที่อาจได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง โดยมีความกังวลเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงและแสงจากการขุดเหมือง ซึ่งอาจรบกวนสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ โดยเฉพาะปลาวาฬ ที่มีความไวต่อการรับรู้ถึงเสียง

นักวิจารณ์ยังชี้ให้เห็นว่าการตัดสินใจของนอร์เวย์ขัดแย้งกับจุดยืนของประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ยกตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ได้เรียกร้องให้ระงับการทำเหมืองในทะเลลึกชั่วคราวเนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 

นอกจากนี้ยังมีแรงผลักดันให้ใช้วัสดุที่ขุดได้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นเพื่อลดความจำเป็นในการทำเหมืองใหม่

แม้จะมีข้อกังวลเหล่านี้ รัฐบาลนอร์เวย์ได้เน้นย้ำว่าการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนตลอดการขุดและการสกัดจะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อสามารถทำได้อย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนรวมถึงการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมก่อนการอนุมัติ

การอนุมัติของนอร์เวย์ในการสำรวจเหมืองใต้ทะเลลึก แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่สำคัญในการแสวงหาแร่ธาตุระดับโลกที่จำเป็นสำหรับพลังงานทดแทนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

การตัดสินใจครั้งนี้มีข้อโต้แย้งอย่างมากเนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาร์กติก ที่มีระบบนิเวศมีความอ่อนไหวทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่ตามมาต่อระบบนิเวศทางทะเลและความหลากหลายทางชีวภาพ

ในขณะที่นอร์เวย์เน้นย้ำแนวทางปฏิบัติในการสกัดอย่างยั่งยืน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้จุดประกายให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

การตัดสินใจครั้งนี้ยังเน้นย้ำถึงการอภิปรายระดับโลกในวงกว้างมากขึ้นเกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการแร่ธาตุที่สำคัญกับความจำเป็นในการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่ยังมิได้ถูกแตะต้องแห่งสุดท้ายของโลก

อ้างอิง 

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia