เปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

เปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ครม.เห็นชอบเปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Department of Climate Change and Environment) 

จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้ทบทวนและปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงในอนาคต

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบ ภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง ทั้งการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป้าหมายคือ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065

ส่วนของโครงสร้างการดำเนินงานของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จะประกอบไปด้วย 1) สำนักงานเลขานุการกรม 2) กองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) กองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก 4) กองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ 5) กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และ 6) ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึง กลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 

สำหรับในส่วน พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นกฎหมายภาคบังคับ โดยคาดว่าจะออกมาใช้ได้ประมาณเดือนกันยายนหรือเดือนตุลาคมปี 2566 นี้

สำหรับกฎหมายดังกล่าวนั้น จะใช้บังคับกับภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษหรือคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อลดการปล่อยให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ซึ่งบริษัทจะต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกว่ามีเท่าไหร่ และจะจัดสรรโควตากันอย่างไร

โดยเบื้องต้นตั้งเป้าให้ไทยสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพรินต์ได้เพียง 120 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ภายในปี พ.ศ. 2608

อ้างอิง 

ผู้เขียน

+ posts

หนุ่มน้อยผู้หลงรักความไม่สมบูรณ์แบบ ออกเดินทางเพื่อเก็บภาพความงดงามของธรรมชาติ และชอบอ่านวรรณกรรมเป็นชีวิตจิตใจ