การมาถึงของวิกฤติการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ในทัศนะของ ‘ศิริพร ศรีอร่าม’ PART 2

การมาถึงของวิกฤติการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ในทัศนะของ ‘ศิริพร ศรีอร่าม’ PART 2

เรื่อง The Sixth Extinction กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อที่เหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์นักธรรมชาติวิทยา พูดถึงในวงสนทนาตามวาระต่าง ๆ จนเป็นจุดสนใจที่สาธารณะชนต่างร่วมเข้ามาสังเกตการณ์มากขึ้น 

ที่ผ่านมายังมีข้อถกเถียงกันในแวดวงวิชาการอยู่มากว่า สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (ลำดับ 6) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ จะส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิต และเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติมากน้อยแค่ไหน 

มูลนิธิสืบนาคะเสถียรชวนศิริพร ศรีอร่ามผู้จัดการโครงการภาคีเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเจ้าหน้าที่อาวุโสโครงการระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)  มาพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าวต่อใน PART 2

การมาถึงของวิกฤติการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ในทัศนะของศิริพร ศรีอร่าม’ PART 1

.
การใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น คือปัจจัยเร่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เรื่องการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไป หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Over Expectation เรื่องนี้เห็นได้ชัดในภาพของอุตสาหกรรมประมง เนื่องด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือต่าง ๆ มันพัฒนาขึ้น ลองจินตนาการเรือจำนวนมหาศาลที่ไปเอาทรัพยากรจากทะเล ที่ลากมาแต่ละครั้งขนาดเท่าสนามฟุตบอล โดยไม่มีการหยุดพัก ทำให้จำนวนประชากรของสัตว์น้ำหายไปมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารขาดความสมดุล 

สัตว์ป่าก็ถือว่าก็ลำบากเพราะมาเจอกับมนุษย์เรา ที่ไปเบียดเบียนชิ้นส่วนจากพวกเขาอีก ไปล่าเขี้ยวช้างเพื่อมาเป็นเครื่องประดับ ไปล่าลิ่นเพื่อเอาเกล็ดหรือเอากระดูกเสือมาเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งงานวิจัยก็บอกชัดเจนแล้วว่า ชิ้นส่วนพวกนี้ไม่ได้ทำให้สุขภาพของคนดีขึ้นเลย ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นการคุกคามชนิดพันธุ์ที่สำคัญมาก ส่งผลโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 

สัตว์บางชนิดต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าจะเติบโต กว่าจะมีลูกได้ แต่การกระทำของมนุษย์เพียงครั้งเดียว เช่น โรงงานปล่อยน้ำเสียในพื้นที่แหล่งน้ำที่มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การกระทำเพียงแค่นั้นก็อาจจะทำให้สิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์ต้องสูญหายตายไปเกือบหมด พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เหมือนไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้ใส่ใจ แต่ผลกระทบมันมากเกินกว่าที่จะประเมินค่าได้
.

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร

Climate change มันเป็นวิกฤติจริง ๆ เราจะเห็นผลกระทบได้ชัดเจนว่า ตอนนี้ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีปละลายลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงไฟป่าครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ ก่อให้เกิดสภาวะอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรง แต่ทางนักนโยบายและคนทั่วไปกลับไม่รู้สึกตื่นตระหนกเท่าไหร่ 

ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการจรกองค์กรระหว่างประเทศหรือภาคเอกชน ทุกคนจะพูดเรื่องของ Climate change กับความหลากหลายทางชีวภาพแยกส่วนกัน ไม่ได้มองถึงความเชื่อมโยงว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมันส่งผลถึงความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไร ทำให้เกิดหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้หลัก ๆ ของโดยสหประชาชาติ ซึ่งมีอยู่สองหน่วยงานคือ หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC)  และหน่วยงานนโยบายวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติ เรื่องการให้บริหารด้านความหลากหลายทางชีววิทยาและระบบนิเวศ 

เขาก็มานัดประชุมกันจัดเวิร์คช้อปกัน และก็ตีพิมพ์รายงานมาเล่มหนึ่ง เรื่อง Biodiversity and Climate change เพื่อหาส่วนสรุปให้เห็นภาพว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มันส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อความหลากหลายทางชีวภาพบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในพื้นที่นั้น บางชนิดพันธุ์อาจไม่สามารถรับมือได้กับสภาพอากาศได้ หรือเมื่ออุณหภูมิร้อนขึ้นสิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจหายไป 

อีกประเด็นหนึ่งที่เพิ่งมีงานวิจัยออกมาในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา คือเรื่องขีดจำกัดของโลกหมายความว่าโลกจะรับมือกับประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างไร เรื่องนี้มีตัวอย่างให้อ่านในบทความชื่อ Breaking the Planetary Boundaries (ตีพิมพ์ที่ Republica เขียนโดย ดร.เพชร มโนปวิตร) ซึ่งอันนี้เป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีแผ่ออกมาว่าความหลากหลายทางชีวภาพของโลกเราขณะนี้วิกฤตถึงขั้นไหนแล้ว
.

มนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะอยู่รอดได้อย่างไรในยุคที่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กำลังจะมาถึง

สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้ เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และไม่ได้อยู่บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อกันหมดเป็นปัญหาลูกโซ่ ซึ่งก็มีการประเมินว่า การใช้ทรัพยากรของมนุษย์ตอนนี้ เราต้องการโลกถึง 1.7 ใบ จึงจะเพียงพอ ซึ่งในความเป็นเราไม่ได้มีโลกใบที่สอง 

ดังนั้น เราต้องให้ความสำคัญกับการบริโภคและการใช้ทรัพยากรในด้านต่าง ๆ โดยที่ไม่ไปทำร้ายหรือเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

“Nature doesn’t need us, but we need nature” 

ถ้าเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา ทั้งการบริโภค และการพัฒนา โดยอาศัยการแนวคิดที่ยั่งยืน เราจะไม่มีคำว่าใช้ทรัพยากรแล้วทิ้ง ไปขุดมาใช้ใหม่ สิ่งนี้จะต้องหยุดและต้องไม่เกิดขึ้นอีก 

เพราะว่าเรามีโลกใบนี้เพียงใบเดียว

ผู้เขียน

+ posts

นักสื่อสารมวลชน ชอบวิพากษ์สังคมผ่านงานเขียน ยึดปากกาและวิชาชีพเป็นสรณะ