SEUB TALK SPECIAL : 3 ทศวรรษมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ตอนที่ 2

SEUB TALK SPECIAL : 3 ทศวรรษมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ตอนที่ 2

ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 บนเส้นทางองค์กรสื่อสารสาธารณะด้านการอนุรักษ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ยังคงทำหน้าที่สืบทอดเจตนารมณ์ของ คุณสืบ นาคะเสถียร อย่างเข้มข้น ท่ามกลางกระแสการพัฒนาที่ถาโถมเข้ามาในพื้นที่ป่าอย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้งโครงการเขื่อนแม่วงก์, โครงการตัดถนนผ่าป่า 48 สาย, โครงการท่อก๊าซไทย – พม่า, การมีอยู่ของเหมืองแร่ในพื้นที่อนุรักษ์

อีกด้านคือการขยายการทำงานจากผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่ฯ – ห้วยขาแข้ง สู่การจัดการผืนป่าตะวันตก 12 ล้านไร่ กับ 17 พื้นที่อนุรักษ์ ผ่านโครงการ WEFCOM Project ขยายผลไปสู่พันธกิจสำคัญกับบทบาทการทำงานอย่างมีส่วนกับชุมชนทั้งนอกและในผืนป่าตะวันตก กว่า 400 ชุมชน ผ่าน “โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม” (Joint Management of Protected Area Project) 

รวมถึงยังมีเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ เช่น การเข้ามาของ อ.ศศิน เฉลิมลาภ จากอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดัง สู่บทบาทนักอนุรักษ์อย่างเต็มตัว

การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่องค์กร (rebranding) สู่ององค์กรสื่อสารสาธารณะเพื่อบอกเล่า เรื่องราวจากป่าสู่เมือง

รูปแบบการทำงานกับชุมชนในผืนป่าตะวันตก ภายใต้แนวคิด “คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ เสือก็อยู่ได้”

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวการก้าวย่างทางเดินสู่ทศวรรษที่ 2 ของมูลนิธิสืบฯ ในบทบาทองค์กรด้านการอนุรักษ์ของประเทศไทย ได้ถูกถ่ายทอดผ่านการสนทนา โดยภาณุเดช เกิดมะลิ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ อรยุพา สังขมาน รองเลขาธิการ ใน SEUB TALK SPECIAL ตอน “สามทศวรรษมูลนิธิสืบนาคะเสถียร”

ในช่วงทศวรรษที่ 2 การทำงานขององค์กร ถูกออกแบบด้วยการวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบมากขึ้น

มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเป็นองค์กรแรกๆ ที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย ที่มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ ขึ้นมา เพื่อเอาไว้เป็นทิศทาง เอาไว้เป็นถนนของเราว่า สำหรับการทำงานมูลนิธิฯ มันจะมุ่งไปทางไหนถึงจะไปสู่เป้าหมายได้ หรือมุ่งไปด้วยวิธีการอย่างไร

การทำแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ มาตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 2 และยังคงจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิทุกๆ 4 ปี มาจนถึงทุกวันนี้ 

ขอขอบคุณ ธนาคารไทยพานิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)