นกในแอมะซอน กำลังวิวัฒนาการตัวเองเพื่อหนีจากวิกฤตโลกร้อน

นกในแอมะซอน กำลังวิวัฒนาการตัวเองเพื่อหนีจากวิกฤตโลกร้อน

ผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อนกำลังแผ่ขยายอาณาเขตไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโลก

.
ไม่เว้นแม้แต่ในป่าแอมะซอนส่วนที่มนุษย์ยังไม่ได้ย่างกรายเข้าไปทำลายก็ยังได้รับผลกระทบ และส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าบางชนิด

ในที่นี้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องราวของนก และพบว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพราะวิกฤตโลกร้อนได้ปรับสัดส่วนรูปร่างของนกหลายสายพันธุ์

ตามข้อมูลการสำรวจนก 77 สายพันธุ์ จำนวน 15,000 ตัว เป็นเวลา 40 ปี ทำให้นักวิทยาศาสตร์เห็นสรีระของนกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

กล่าวคือ นกหลายชนิดมีน้ำหนักตัวที่เบาลง พร้อมๆ กับขนาดของปีกที่กว้างขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มดำเนินมาตั้งแต่ช่วงปี 1980

สปีชีส์ส่วนใหญ่สูญเสียน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 2% ทุกทศวรรษ 

ซึ่งหมายความว่านกสายพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 30 กรัม ในช่วงทศวรรษ 1980 จะมีน้ำหนักเฉลี่ย 27.6 กรัม ในปัจจุบัน

นักวิทย์ฯ อาจไม่สงสัยมากนัก หากนกที่เพียรเฝ้าติดตามเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า พวกมันอาจต้องวิวัฒนาการตัวเองเพื่อเอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม 

แบบเดียวกับนกในเมืองที่ปรับขนาดตัวเองให้เล็กลง เพื่อให้บินหลบหลีกตึกรามบ้านเรือน เสาไฟต่างๆ ตลอดจนเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกรถชน

แต่นกเหล่านี้กลับเป็นกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ป่า ดังนั้น คำตอบจึงเป็นอื่นไม่ได้ นอกเสียจากจะเป็นการปรับตัวให้รอดในวันที่อุณหภมิโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ทำไมนักวิทย์ฯ ถึงสันนิษฐานเช่นนั้น

เรื่องนี้พวกเขาอธิบายว่า นกที่มีน้ำหนักเบาลงและมีขนาดของปีกที่กว้างขึ้นนั้น ส่วนมากเป็นนกที่บินและอาศัยอยู่ที่สูงหรือป่าชั้นเรือนยอดและชั้นกลาง

นกกลุ่มนี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนที่สุด เพราะพวกมันอยู่ในจุดที่สัมผัสกับความร้อนได้ง่ายที่สุด

นักวิทย์ฯ ตั้งสมมติฐานว่านี่เป็นการปรับให้เข้ากับแรงกดดันด้านพลังงาน เช่น ปริมาณของผลไม้และแมลง และความเครียดจากความร้อน

น้ำหนักตัวที่เบาลงจะช่วยให้นกมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

ส่วนขนาดของปีกที่กว้างขึ้น คาดว่าจะทำให้นกบินได้ดีขึ้นในวันที่อากาศร้อนแม้ว่าปีกที่กว้างขึ้นจะทำให้พวกมันได้รับความร้อนมากขึ้นก็ตาม

พวกเขาเปรียบนกว่าเหมือนกับเครื่องร่อน 

รูปร่างที่เล็กเพรียวกับปีกที่มีหว้าง ทำให้ใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องบินขนาดใหญ่

นักวิทย์ฯ ยังอธิบายด้วยว่า นี่ไม่ใช่เรื่องการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือผลพวงการเติบโตที่มีฐานทรัพยากรเป็นที่ตั้ง (อาหาร ที่อยู่อาศัย)

มันอาจเป็นไปได้ทั้งสองกรณีเหมือนกัน ดังเช่นที่นักวิทย์ฯ อีกกลุ่มเชื่อว่าช้างแอฟริกาได้วิวัฒนาการตัวเองให้ไม่มีงาเพื่อเอาตัวรอดจากการล่าสมบัติที่คนสมมติขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้นักวิทย์ฯ จะเห็นว่านี่เป็นการปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตรอดจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ก็ยังไม่มีอะไรมายืนยันได้ว่า การปรับตัวนี้จะช่วยให้นกเหล่านั้นรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีมากน้อยเพียงใด

มันเป็นเพียงความเห็นปลายเปิดที่คนยังคงต้องวิเคราะห์ต่อไป

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศป่าฝนอย่างแอมะซอนเท่านั้น

เชื่อว่ายังมีสปีชีส์อื่นๆ ที่กำลังเผชิญวิกฤตแบบเดียวกันนี้ในที่อื่นๆ ทั่วโลก

แต่ก็หวั่นว่า การปรับตัวอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องของปัญหาวิกฤตโลกร้อน

การไปแก้ที่ต้นตออย่างการจำกัดอุณหภูมิให้สูงไม่เกิน 1.5 องศาน่าจะเป็นทางที่ถูกต้องมากกว่าการผลักภาระให้สิ่งมีชีวิตอื่นต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตัวเอง

 


อ้างอิง

ผู้เขียน

Website | + posts

โซเชียลมีเดียที่เขียนบันทึกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคแอนโทโปรซีน