เมื่อพลังงานหมุนเวียนกำลังทำลายธรรมชาติ

เมื่อพลังงานหมุนเวียนกำลังทำลายธรรมชาติ

การรวมกันของสังคมเมืองกับธรรมชาตินั้นอาจส่งผลเสียต่อทั้งคู่ 

การต่อต้านการใช้ต้นไม้และพืชเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์และโรงไฟฟ้า เพราะมันทำให้เกิดการขยายตัวของไร่ข้าวโพดสำหรับผลิตเอทานอลจำนวนมาก ในเขตมิดเวสต์ของอเมริกาไร่ข้าวโพดทำให้มลพิษทางน้ำ และการพังทลายของดิน และแทบไม่มีประโยชน์ในการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเลย อีกทั้งคำสั่งให้เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในยุโรป ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันปาล์มพุ่งสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจน้ำมันปาล์มทำลายพื้นที่ป่าฝนในอินโดนีเซียและมาเลเซียมากขึ้นเพื่อปลูกปาล์ม ซึ่งส่งผลกระทบให้ลิงอุรังอุตังเข้าใกล้การสูญพันธุ์มากขึ้น และความพยายามใช้เชื้อเพลิงทดแทนบางแบบอาจจะส่งผลกระทบให้แย่ลงไปอีก เช่น ผู้ที่อยู่ในประเทศเยอรมันใช้การเผาไม้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนหรือที่รู้จักกันในนาม “ชีวมวล” แท้จริงนั้นไม่ได้ช่วยในเรื่องการลดโลกร้อนไปมากกว่าถ่านหินเลย จริง ๆ แล้วอาจส่งผลกระทบมากกว่าถ่านหินเสียอีก

หลายคนแย้งว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนจากพืชไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป “ชีวมวล” อาจจะมีปัญหาของมันจริง ๆ แต่ระบบพลังงานทดแทนที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมก็ยังมีอยู่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

แต่ Will Boisvert ได้ระบุว่าผลกระทบด้านลบจากพลังงานชีวภาพต่อธรรมชาติเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นพลังงานทดแทนอื่น ๆ ด้วยไม่มีข้อยกเว้น โลกที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานทดแทนเป็นหลักนั้นจะไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเลย

พิจารณาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้ง 4 แบบ ได้แก่ เขื่อนพลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มีอยู่สองแบบที่ต้องสร้างให้มีกำลังผลิตขนาดใหญ่ถึงจะคุ้มที่จะลงทุนทำนั่นก็คือพลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล ซึ่งตอนนี้กำลังดึงดูดความสนใจอย่างมากในการทำ ผลกระทบจากการสร้างพลังงานทดแทนเหล่านี้อย่างแพร่หลายเป็นเรื่องที่จะเพิกเฉยไปไม่ได้

ในระดับการผลิตมาก ๆ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมากเช่นกัน เนื่องจากทั้งสองต้องใช้ทรัพยากรมากโดยเฉพาะในด้านพื้นที่ และเนื่องจากต้องมีการสำรองพลังงาน เพราะพลังงานทั้งสองมีกำลังผลิตที่ไม่มั่นคง ซึ่งพลังงานสำรองมักมาจากแหล่งพลังงานที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ชีวมวล และถ่านหิน ยกตัวอย่างจากการที่ประเทศเยอรมันเปลี่ยนจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ทำให้ปริมาณการใช้ถ่านหินเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสำหรับชีวมวล และถ่านหิน ก็คือความสามารถในการสำรองพลังงานยามฉุกเฉิน เพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงของพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ถึงแม้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน Boisvert กล่าวว่า “ตัวอย่างเช่นในประเทศเยอรมันกำลังการผลิตของพลังงานลม และแสงอาทิตย์จะลดลงเป็นเวลาหลายวันในช่วงที่ลมสงบ และมีเมฆมาก ช่องโหว่ในด้านของกำลังการผลิตของพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้นี่เอง ที่ทำให้เราจำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากชีวมวล และถ่านหินอยู่ เพราะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าพลังงานหมุนเวียน”

นอกเหนือจากความต้องการใช้ในเชิงปฏิบัติแล้ว พลังงานชีวภาพยังคงโผล่ขึ้นมาในแผนพลังงานสีเขียว เพราะหลาย ๆ คนยังสนับสนุน และเห็นว่ามันเป็นพลังงานในอุดมคติในเชิงนิเวศวิทยา จึงทำให้เกิดเขื่อน สวนปาล์มน้ำมัน ฟาร์มกังหันลม และฟาร์มแผงโซล่าร์ขึ้นมากมาย ทั้งหมดจะแปลงพลังงานธรรมชาติที่ไหลผ่านกระแสน้ำ แสงแดด และลมเป็นพลังงานที่มีประโยชน์กับมนุษย์ วัตถุประสงค์ของการกระทำนี้ก็เพื่อผลิตพลังงานให้กับโลกบางส่วนหรือทั้งหมดโดยใช้พลังงานหมุนเวียน และผลักดันสังคมมนุษย์ให้เข้าสู่การใช้พลังงานจากธรรมชาติ

ปัญหาคือความพยายามดังกล่าวเพื่อให้สังคมมนุษย์กลมกลืนกับธรรมชาติ มีแนวโน้มที่จะไม่ดีสำหรับทั้งคู่ Boisvert กล่าวว่า “ในอดีตมนุษย์ได้ใช้พลังงานชีวมวลในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตัดไม้ทำฟืนเพื่อความอบอุ่น การปลูกพืช และการล่า/เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นพลังงานในการเจริญเติบโต กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ในยุโรปสมัยใหม่ยุคแรก ๆ ป่าไม้ถูกทำลายอย่างกว้างขวางเพื่อให้ได้ไม้ฟืนสำหรับให้ความอบอุ่น และเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการประดิษฐ์อุปกรณ์จากโลหะ”

Boisvert ได้กล่าวถึงความคิดของเขาที่ค่อนข้างขัดแย้งกับวิสัยทัศน์ของพลังงานหมุนเวียน “กระบวนพลังงานหมุนเวียนจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรมระดับมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น การวางแนวทุกขอบฟ้าด้วยกังหันลม การสร้างเขื่อนและเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานไฟฟ้า และการขุดเจาะเปลือกโลกเพื่อกักเก็บความร้อนจากใต้พิภพ เพื่อรวบรวมพลังงานทั้งหมดที่เราจะสามารถหาได้จากธรรมชาติมารวมกันเป็นเครื่องจักรเพื่อผลิตพลังงาน”

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก When Renewables Destroy Nature
ถอดความและเรียบเรียงโดย วณัฐพงศ์ ศิริวิภานันท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร