เที่ยวบินเชื้อเพลิงชีวภาพ จากสหรัฐฯ ถึงออสเตรเลีย

เที่ยวบินเชื้อเพลิงชีวภาพ จากสหรัฐฯ ถึงออสเตรเลีย

สายการบิน Qantas ได้เป็นสายการบินแรกที่สามารถบินจากสหรัฐอเมริกาถึงออสเตรเลียได้โดยใช้เชื้อเพลิงชีวภาพได้สำเร็จ ซึ่งช่วยลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ร้อยละ 7 เที่ยวบินดังกล่าวใช้เครื่องบิน Boeing 787 เป็นระยะเวลากว่า 15 ชั่วโมงจากเมืองลอสแองเจลีสถึงเมลเบิร์น โดยใช้เชื้อเพลิงชีวภาพไปทั้งสิน 24,000 กิโลกรัม

 

สายการบินสัญชาติออสเตรเลียยังเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม โดยใช้ส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ไม่มีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสกัดจากเมล็ดมัสตาร์ดสายพันธุ์สำหรับการค้าชื่อว่า brassica carinata โดยมัสตาร์ดนั้นจะเป็นพืชที่เกษตรกรมักเพาะปลูกระหว่างรอบผลผลิตปกติ ซึ่งถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างรายได้ในระหว่างการพักฟื้นดิน

Daniel Tan อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ระบุว่าโดยปกติแล้ว พืชชนิดนี้จะโตค่อนข้างเร็วและปลูกง่าย เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวไปใช้ในครัวเรือนได้ นอกจากนี้ การปลูกข้าวสาลีต่อเนื่องทุกปีจะทำให้ดินเสีย เกษตรกรสามารถปลูกมัสตาร์ดคั่นระหว่างการปลูกข้าวสาลีทุก 2 หรือ 3 ปี นำมาใช้ผลิตน้ำมันเครื่องบินในประเทศหรืออาจใช้เพื่อการส่งออก

กระบวนการผลิตน้ำมันจากเมล็ดมัสตาร์ดนั้น คิดค้นโดยบริษัทด้านเกษตรชีวภาพในแคนาดาชื่อว่า Agrisoma Biosciences ซึ่งโฆษกของสายการบิน Qantas ให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจับมือกับ Agrisona เปิดโรงกลั่นน้ำมันชีวภาพในออสเตรเลียเพื่อใช้นวัตกรรมนี้ให้เต็มศักยภาพ

Steve Fabijanski ผู้บริหารของ Agrisona กล่าวว่ามัสตาร์ดนั้นเติบโตในสภาพแวดล้อมที่พืชชนิดอื่นยากจะเติบโต ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำจำนวนมาก และเป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกร พวกเขามีความสามารถที่จะปลูกมัสตาร์ดได้เป็นอย่างดี

เราสามารถผลิตน้ำมันจำนวนมาก แต่ปัญหาคือเรายังไม่มีปริมาณเมล็ดมัสตาร์ดที่จะป้อนเข้าโรงงานอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพในออสเตรเลียเขากล่าวเสริม

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สายการบิน Qantas ได้ประกาศว่าเที่ยวบินที่มีต้นทางจากลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกาทุกเที่ยวบิน จะใช้เชื้อเพลิงชีวภาพภายใน พ.. 2573 เป็นต้นไป หลังจากที่บริษัทได้ทำข้อตกลงครั้งสำคัญกับบริษัทเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา SG Preston

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก First biofuel flight between US and Australia used mustard seeds
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์