‘ปลาตีน’ นักรักษาสมดุลแห่งป่าชายเลน

‘ปลาตีน’ นักรักษาสมดุลแห่งป่าชายเลน

‘ปลาตีน’ (Mudskipper) เป็นปลาที่อาศัยได้ทั้งบนบก น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พบได้เฉพาะบริเวณป่าชายเลนที่มีน้ำท่วมถึง เป็นเอกลักษณ์ประจำป่าชายเลน อีกทั้งยังช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศป่าชายเลน และยังสามารถเปลี่ยนสีลำตัวและปรับอุณหภูมิร่างตามสภาพแวดล้อม (Poikilotherm) ได้อีกด้วย

‘ปลาตีน’ ออกลูกเป็นไข่มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก สีเหลือง และเป็น 2 พู ขนาดไข่ประมาณ 30-50 ไมโครเมตร ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ในแต่ละครั้ง 8,000 – 48,000 ฟอง หรือเฉลี่ยประมาณ 19,000 ฟอง/ตัว

ปลาตีนเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ อาทิเช่น เศษใบไม้ กุ้ง ปู ปลาขนาดเล็ก และแมลง (ปูก้ามดาบจัดเป็นชนิดปูที่ปลาตีนจับกินมากที่สุด)

เราสามารถพบเห็นปลาตีนได้ตามป่าชายเลน และลำน้ำด้านในบริเวณปากอ่าวในแถบจังหวัดที่ติดชายทะเล เพราะเป็นแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ที่สุด มักอาศัยอยู่บริเวณที่เป็นดินโคลน ด้วยการขุดรูใต้ดินเพื่อหลบภัยในช่วงเวลาน้ำขึ้นและเพื่อใช้ในการวางไข่สืบพันธุ์

จะเห็นได้ว่าปลาตีนสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ น้องจึงทำหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์น้ำอื่นไม่ให้มีมากเกินไป รวมถึงปลาตีนวัยอ่อนจะเป็นอาหารแก่สัตว์หรือปลาชนิดอื่นอีกด้วย ถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศป่าชายเลนและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ภายในพื้นที่นั่นเอง

ปลาตีน

เรื่อง/ภาพ ภัสราภรณ์ ล้อประกานต์สิทธิ์

อ้างอิง