กระถินยักษ์ ตัวร้าย ทำลายป่า

กระถินยักษ์ ตัวร้าย ทำลายป่า

‘กระถินยักษ์’ ตัวร้าย ทำลายป่า

ปัจจุบันในประเทศไทยมีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศกว่า 200 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่ เต่าญี่ปุ่น รวมถึงพืชอย่าง ‘กระถิ่นยักษ์’ ซึ่งถูกจัดเป็น 1 ใน 100 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานที่น่ากลัวที่สุดของโลก (100 of The World’s Worst Invasive Alien Species) โดย IUCN

‘กระถินยักษ์’ หรือ Leucaena leucocephala เป็นพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (Invasive Alien Species) หมายถึง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มาจากพื้นที่อื่นเข้ามารุกราน และแพร่กระจายได้ในธรรมชาติ เป็นชนิดพันธุ์เด่นในระบบนิเวศใหม่ และทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นเดิมสูญพันธุ์ได้ รวมถึงเกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือป่าต้นน้ำ หากเรานำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานเข้าไปในพื้นที่ จะทำให้ชนิดพันธุ์นั้นเข้าไปแทนที่ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นเดิม เช่นเดียวกับ กระถินยักษ์ ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรงได้ แก่งแย่งพื้นที่ และธาตุอาหารของชนิดพันธุ์ในพื้นที่ หรือเป็นพาหะนำโรค ทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นเดิมลดอัตราการเจริญเติบโต และจำนวนประชากรลงจนถึงขั้นสูญพันธุ์ได้ ส่งผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรม และทำลายระบบนิเวศในที่สุด

กระถินยักษ์

พืชและสัตว์บางชนิดมีวิวัฒนาการจำเพาะร่วมกัน หากชนิดพันธุ์ใดหายไป ก็จะส่งผลต่ออีกชนิดพันธุ์หนึ่งเช่นกัน ดังนั้นความหลากหลายของพืชทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นั้นๆ ด้วย

การปลูกป่าโดยการรุกรานชนิดพันธุ์ท้องถิ่นเดิม จะทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล และยิ่งในพื้นที่ที่เป็นป่าสมบูรณ์ จะเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้น นำมาซึ่งการล่มสลายของชนิดพันธุ์ได้ในอนาคต!


เรื่อง/ภาพ ภัสราภรณ์ ล้อประกานต์สิทธิ์

อ้างอิง