ฝึกอบรมการใช้ระบบเชือกโรยตัวและการปฐมพยาบาลในพื้นที่ทุรกันดาร – Basic Wilderness Firest Aid

ฝึกอบรมการใช้ระบบเชือกโรยตัวและการปฐมพยาบาลในพื้นที่ทุรกันดาร – Basic Wilderness Firest Aid

ฝึกอบรมการใช้ระบบเชือกโรยตัวและการปฐมพยาบาลในพื้นที่ทุรกันดาร – Basic Wilderness Firest Aid
.

.
ในปี 2562 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ดำเนินโครงการติดตามกวางผาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว โดยได้นำกวางผาจากสถานีวิจัยสัตว์ป่าอมก๋อย มาฝึกในกรงปรับสภาพ และมีการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียม ก่อนที่จะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ทางทีมเจ้าหน้าที่ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในการติดตามข้อมูล หลังจากนั้นปลอกคอสัญญาณดาวเทียมก็จะหลุดจากคอกวางผา ทางเจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าก็จะมีหน้าที่ออกไปตามเก็บปลอกคอเหล่านั้นกลับคืนมา เพื่อนำกลับมาใช้งานอีกครั้งหนึ่ง

ในการดำเนินการเก็บปลอกคอกวางผา เจ้าหน้าที่จะต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่กวางผาเข้าไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน ฉะนั้นการลงไปเก็บปลอกคอหรือเก็บข้อมูลบางครั้ง จำเป็นต้องมีการใช้เชือกในการโรยตัวลงไปตามจุดต่างๆ

ซึ่งภาพกิจกรรมการทำงานได้ไปสะดุดตาของคุณหมอประสาน เปี่ยมอนันต์ คุณหมอจึงแสดงความเป็นห่วงและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ จึงเสนอให้มีการจัดฝึกอบรมการใช้ระบบเชือกโรยตัว และการปฐมพยาบาลในพื้นที่ทุรกันดาร – Basic Wilderness Firest Aid เพราะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ดังนั้น การเติมความรู้ในส่วนนี้จึงช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และมีความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ร่วมรักษาป่าใหญ่ ผ่านระบบ Thai QR Code