เราใช้คำว่า “ปลูกป่าทดแทน 2 เท่า” เป็นความชอบธรรมในการทำลายป่า 

เราใช้คำว่า “ปลูกป่าทดแทน 2 เท่า” เป็นความชอบธรรมในการทำลายป่า 

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘ปลูกป่าทดแทน’ (Afforestation) นั้นคนละเรื่องกับ การฟื้นฟูป่า (Reforestaiton) ลองนึกถึงพื้นที่ทุ่งหญ้าโล่ง ๆ และเราหากคิดว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม เราจึงเอาต้นไม้ไปปลูก 

มันจะทำให้ต้นไม้และสัตว์ต่าง ๆ ในพื้นที่นั้นถูกรุกราน และระบบนิเวศเดิมเปลี่ยนไป แต่ด้วยความที่ระบบนิเวศเดิมของทุ่งหญ้านั้นมีแหล่งน้ำที่ค่อนข้างจำกัด การที่มีต้นไม้เพิ่มมากขึ้น ความต้องการน้ำก็มากขึ้นตาม แต่ระบบนิเวศเดิมของทุ่งหญ้านั้นมีปริมาณน้ำที่น้อย ทำให้ต้นไม้ต้องแย่งน้ำกัน อาจไม่โตและตายในที่สุด ซึ่งสุดท้ายนอกจะไม่ได้ต้นไม้เพิ่มขึ้น ยังไปเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศเก่า 

ประเทศไทยยอมเสียป่าเพื่อให้ได้มาซึ่งเขื่อน เขื่อนเป็นปัญหาหนึ่งที่คุกคามพื้นที่ป่าไม้ในไทยอย่างมาก และพื้นที่ป่าที่สูญเสียนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมครั้งใหญ่ นำมาซึ่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นจำนวนมาก  ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเบื้องตื้นของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งหมด ในประเทศไทย พบว่าหากโครงการเกิดขึ้นจะเกิดการสูญเสียการเก็บคาร์บอน 2,175,315 ตัน และปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 7,961,653 ตัน เสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์กว่า 83,000 ไร่ 

นโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ 40 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่วาดฝันถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนมีพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์และเศรษฐกิจ แต่หากไล่ย้อนดู 30 ปีที่ผ่านมาป่าไม้ไทยไม่ไปไหน ซ้ำร้ายกลับมีแนวโน้มลดลง แต่ประเทศไทยมีเขื่อนกับอ่างเก็บน้ำรวมกันมากกว่า 540 แห่งทั่วประเทศ  และยังมีที่อยู่ในแผนพัฒนาอีกกว่า 100 โครงการที่กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ โครงการส่วนใหญ่นั้นกินพื้นที่อนุรักษ์ และถ้าหากมาตรการการปลูกป่าทดแทน 2 เท่าใช้ได้จริงเหตุใดพื้นที่ป่าไม้ถึงมีแนวโน้มลดลง ? 

แนวคิดเรื่องการปลูกป่าทดแทนเราอาจต้องกลับมาตั้งคำถามกันให้ดีว่าป่าที่เราปลูกกลับคืนมานั้นมันเป็นป่าจริง ๆ หรือ ? สรุปแล้วเราได้ป่าคืนมาจริงใช่ไหมหรือได้เพียงแค่หย่อมต้นไม้กลุ่มหนึ่ง ที่สัตว์ป่าที่สูญเสียพื้นที่ไปไม่สามารถไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะสิ่งที่สูญเสียเพียงไม่ใช่แค่ต้นไม้นั้นพื้นที่นั้น แต่รวมถึงความหลากหลายของชนิดพันธุ์ทั้งพืชและสัตว์ป่า คุณค่าของระบบนิเวศตรงนั้นที่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยการปลูกป่าทดแทนเพียงอย่างเดียว 


เรื่อง/ภาพ อัครวิชญ์ จันทร์พูล  

อ้างอิง