น้ำแข็งขั้วโลกอยู่ใกล้จุดต่ำสุด สมดุลที่เสียไปนี้จะยากต่อการฟื้นตัว

น้ำแข็งขั้วโลกอยู่ใกล้จุดต่ำสุด สมดุลที่เสียไปนี้จะยากต่อการฟื้นตัว

งานวิจัยล่าสุดเผยให้เห็นกว่าน้ำแข็งในทะเลทั้งขั้วโลกเหนือและใต้คงลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2024 โดยน่านน้ำรอบๆ ทวีปแอนตาร์กติกาความครอบคลุมของน้ำแข็งหดตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์เป็นปีที่สามติดต่อกัน แม้ว่าปี 2024 อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อัตราการละลายของแผ่นน้ำแข็งก็มีโอกาสที่จะเพิ่มมากขึ้นอยู่ดีหากเราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) ภายในปี 2030 ได้ 

มวลน้ำแข็งขั้วโลก (Ice cap) ทำหน้าที่เป็นแนวกั้นที่สำคัญระหว่างมหาสมุทรกับชั้นบรรยากาศ อาทิ การเป็น ‘ฉนวนความร้อน’ ซึ่งขยายออกไปเกินบริเวณขั้วโลก ลดการแลกเปลี่ยนความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลที่อุ่นกว่าปล่อยความร้อนออกสู่บรรยากาศที่เย็นกว่าด้านบนโดยตรง ฉนวนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของอุณหภูมิในบริเวณขั้วโลก  

นอกจากนี้ แผ่นน้ำแข็งยังมีค่าแอลบีโด้ (Albedo) หรืออัตราส่วนระหว่างปริมาณแสงที่วัตถุสะท้อนหรือกระเจิงต่อปริมาณแสงที่วัตถุนั้นดูดซับเอาไว้สูง ช่วยสะท้อนการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่เข้ามาออกสู่อวกาศ ซึ่งการสะท้อนนี้ช่วยให้พื้นผิวโลกเย็นลง โดยเฉพาะในบริเวณขั้วโลก ซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศโลกด้วยการลดภาวะโลกร้อนโดยรวม แตกต่างจากผืนน้ำเปิดซึ่งดูดซับพลังงานส่วน ส่งผลให้มหาสมุทรได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์มากขึ้น

การมีอยู่ของน้ำแข็งในทะเลยังเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของบรรยากาศ ส่งผลให้มีอิทธิพลต่อรูปแบบลมและสภาพอากาศในท้องถิ่นและทั่วโลก อีกทั้งสามารถจำกัดการถ่ายเทความชื้นจากมหาสมุทรสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการระเหยน้อยลง ปริมาณฝนในขั้วโลกลดลง ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบความชื้นและสภาพอากาศในภูมิภาคโดยรอบน้ำแข็งขั้วโลก สามารถลดการแลกเปลี่ยนก๊าซในมหาสมุทรและบรรยากาศ โดยมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลก และส่งผลต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศและในมหาสมุทร ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมสภาพอากาศของโลก 

โดยเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 แผ่นน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกมีอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดต่อปี โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 1.99 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1981 – 2010 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ การลดลงอย่างมีนัยสำคัญนี้เทียบเท่ากับพื้นที่ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน การลดลงอย่างเห็นได้ชัดมากที่สุดในยุคการถ่ายภาพด้วยดาวเทียม

การลดลงของปริมาณน้ำแข็งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2016 และมักเรียกกันว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างกระทันหันในโครงสร้าง (Regime shift) ซึ่งบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในรูปแบบน้ำแข็งปกคลุมในทะเล โดยทีมนักวิจัยได้กำหนดการรักษาอาณาเขตน้ำแข็งต่อพื้นที่ทั้งหมดในท้องทะเลไว้ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ 

ผู้เชี่ยวชาญของ NASA และศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ (National Snow and Ice Data Center : NSIDC) ที่ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เน้นย้ำว่าการลดลงของน้ำแข็งขั้วโลกใต้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ อาทิ อาณานิคมของนกเพนกวิน (Penguin colonies) ประชากรคริลล์ (Krill) ลดการกระจายตัวของและอพยพไปทางทางใต้มากขึ้น และกระทบต่อระดับน้ำทะเลทั่วโลก ตลอดจนกระบวนการดูดซับความร้อนและการสะท้อนรังสีมีประสิทธิภาพน้อยลง 

ปัจจุบัน ธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติกสูญเสียมวลไปเร็วกว่าในช่วงปี 1991 – 1999 ขณะที่น้ำแข็งในฤดูหนาวสูงสุดในมหาสมุทรอาร์กติก (the Arctic Ocean) นั้นสอดคล้องกับการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 46 ปี ภาพถ่ายดาวเทียมเปิดเผยว่าพื้นที่ทั้งหมดของมหาสมุทรอาร์กติกที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งในทะเลสูงถึง 5.8 ล้านตารางไมล์ (15.01 ล้านตารางกิโลเมตร)

และเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2024 นักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าเป็นจุดต่ำที่สุด ซึ่งหมายถึงน้ำแข็งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1981 ถึง 2010 กว่า 247,000 ตารางไมล์ (640,000 ตารางกิโลเมตร) โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรอุ่นขึ้น 

ในขณะที่นักวิจัยยังคงติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มเหล่านี้ ก็มีความชัดเจนมากขึ้นว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสำคัญและเกิดขึ้นเร็วขึ้น สถานการณ์นี้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อทำความเข้าใจกลไกเบื้องหลังที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

 การลดลงอย่างต่อเนื่องของน้ำแข็งในทะเลที่ขั้วโลก ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าดาวเคราะห์ของเรากำลังเปลี่ยนแปลง เมื่อสถิติใหม่แต่ละครั้งกลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นสำหรับเราแต่ละคนที่จะต้องมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การสนับสนุนเงินทุนในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและการปฏิบัติตามข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศเป็นขั้นตอนสำคัญในการปกป้องโลกของเรา 

อ้างอิง 

ผู้เขียน

+ posts

ชายหนุ่มผู้หลงไหลในกาแฟไม่ใส่น้ำตาล รักการเดินทางไปกับสินค้าของแบรนด์ Patagonia