มองฤดูกาลแห่งไฟในภูมิภาคอาเซียนผ่านภาพถ่ายดาวเทียม

มองฤดูกาลแห่งไฟในภูมิภาคอาเซียนผ่านภาพถ่ายดาวเทียม

ตลอดช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม หย่อมไฟเล็กๆ จำนวนมากจะเกิดขึ้นกระจายทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีลมเย็นเบาๆ ทำให้อากาศแห้ง เหมาะแก่การเผาเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีไฟเกิดขึ้นจำนวนมากในบริเวณชนบทโดยเฉพาะประเทศกัมพูชาซึ่งดาวเทียม VIIRS ระบุจุดที่เกิดไฟไหม้ได้ถึง 1,868 จุด ประเทศลาว 185 จุด ประเทศพม่า 77 จุด และประเทศไทย 217 จุด และประเทศเวียดนาม 114 จุด ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมักตรวจพบไฟไหม้บ่อยครั้งเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะทางเหนือของกัมพูชา ที่จะมีไฟไหม้มากกว่าประเทศไทยและเวียดนามประมาณ 4 ถึง 5 เท่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.. 2559 ถึงกุมภาพันธ์ พ.. 2561 ตอนเหนือของลาวเองก็มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน

 

แผนที่แสดงจุดที่อุณหภูมิสูงผิดปกติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหลายเหตุผลที่จะจุดไฟเกษตรกรในพื้นที่ป่าบางแห่งยังนิยมทำไร่เลื่อนลอยหมายถึงการตัดไม้และพุ่มไม้ทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้ไม้แห้งก่อนที่จะจุดไปเผาเพื่อเปิดเป็นพื้นที่ทำการเกษตรนักล่าสัตว์บางครั้งก็ใช้ไฟเพื่อไล่สัตว์ป่าให้ออกมาอยู่ในที่โล่งชาวบ้านที่เก็บหาของป่าตามพื้นดินก็นิยมใช้ไฟเพื่อเผาใบไม้ที่อยู่เหนือพื้นดิน

สำหรับพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า เกษตรกรมักจุดไฟเพื่อทำลายซากพืชหลังจากเก็บเกี่ยว เช่น ข้าวสาลี อ้อย ข้าวโพด หรือพืชไร่อื่นๆ การทิ้งก้นบุหรี่ หรือประกายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างก็สามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ได้

ภาพด้านล่างประมวลผลจากระบบ Operational Land Imager (OLI) ของดาวเทียม Landsat 8 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 แสดงให้เห็นเพลิงไหม้บริเวณทุ่งไม้พุ่ม ไม่ไกลจากชายป่าของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเซรย์ปก (Srepok Wildlife Sanctuary) นอกจากนี้ ข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนของดาวเทียม ยังสามารถระบุได้ว่าพื้นที่บริเวณใดที่มีอุณหภูมิสูงอย่างผิดปกติ

 

ภาพไฟไหม้บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเซรย์ปก

 

สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ในบริเวณดังกล่าวนั้นมีหลากหลาย บางครั้งฟ้าผ่าลงบนต้นไม้แห้งก็ทำให้เกิดไฟป่าได้ ชาวบ้านอาจจุดไฟเพื่อเข้าไปเก็บน้ำยางต้นไม้ราคาแพง หรือน้ำผึ้งจากผึ้งป่า หลายครั้งที่ไฟป่าดังกล่าวลุกลามไปปยังบริเวณอื่นอย่างยากจะควบคุม นอกจากนี้ พื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเซรย์ปกยังขึ้นชื่อเรื่องการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามปราบปรามแล้วก็ตาม

หากเราไม่มีข้อมูลจากภาคพื้นดิน แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะระบุสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ที่เราเห็นจากดาวเทียมอีวาน เอลิคอตต์ (Evan Ellicott) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและการตรวจจับไฟจาก University of Maryland ให้สัมภาษณ์แต่สิ่งที่เรายืนยันได้แน่ชัดคือ บริเวณใดที่เราตรวจจับการเกิดไฟป่าได้บ่อยครั้ง จะทำให้พื้นที่ป่าลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นที่เราได้รับข้อมูลจากประเทศกัมพูชา

ไฟไหม้ที่กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งเกิดจากประชากรและพื้นที่การเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี) คิดเป็นการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ราวร้อยละ 10 ของการเกิดไฟป่าทั่วโลก นอกจากนี้ การเผาไร่และไฟป่ายังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคทางเดินหายใจอีกด้วย

 

สำหรับผู้สนใจ องค์การนาซ่าได้จัดทำแผนที่เพลิงไหม้ทั่วโลกที่สามารถเข้าไปดูแบบ Real Time ได้ทางเว็บไซต์ VIIRS Active Fire Detection

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก It’s Fire Season in Southeast Asia
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์