เมื่อใดก็ตามที่เราเปลี่ยน Mindset ที่เรามีต่อน้ำ วันนั้นวิธีการที่เราปฏิบัติต่อน้ำจะเปลี่ยนไป

เมื่อใดก็ตามที่เราเปลี่ยน Mindset ที่เรามีต่อน้ำ วันนั้นวิธีการที่เราปฏิบัติต่อน้ำจะเปลี่ยนไป

วิธีการรับมือกับปัญหานั้นเริ่มต้นที่ความคิดและทัศนคติที่เรามีต่อสิ่งนั้น บางสิ่งบางอย่างมันอาจไม่เคยเป็นปัญหาจนกระทั่งเรามองให้มันเป็นปัญหาและพยายามที่จะแก้ไข ไม่เคยเรียนรู้ที่อยู่กับมัน ดังเช่น วิกฤติน้ำในประเทศไทยครั้งนี้ 

ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ และนักวิชาการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้พูดถึงการจัดการน้ำในประเทศไทย ในเวที TED Talk Climate Change สิ่งแวดล้อม 2565 ไว้ว่า … 

“เมื่อใดก็ตามที่เราเปลี่ยน mindset ที่เรามีต่อน้ำ
วันนั้นวิธีการที่เราปฏิบัติต่อน้ำก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน” 

ปัจจุบันประเทศไทยมีแผนด้านน้ำอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 แผน ได้แก่ 

เป้าหมายที่ 1 เรื่องของน้ำอุปโภค บริโภค  เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดหาน้ำให้เพียงพอกับการเกษตรและการอุตสาหกรรม เป้าหมายที่ 3 การใช้งบประมาณเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านน้ำท่วม 

เป้าหมายที่ 4 การใช้งบประมาณเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำ ในเรื่องการจัดการน้ำเสีย และระบบนิเวศ เป้าหมายที่ 5 เรื่องของการฟื้นฟูป่า เป้าหมายที่ 6 เรื่องของการบริหารจัดการ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกฎหมายน้ำ และใช้เงินกับลุ่มน้ำ  

ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า

และในปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ทุ่มเงินกว่า 60 % ( 38,427.69 ล้านบาท) ไปในเรื่องของแผนที่ 2 คือ การพัฒนาแหล่งน้ำและจัดหาน้ำให้เพียงพอกับการเกษตรและการอุตสาหกรรม แต่รัฐกลับใช้งบเพียง 1 – 2 % (193 ล้านบาท) ในการฟื้นฟูแหล่งน้ำ ฟื้นฟูป่า ซึ่งในงบประมาณ ปี 66 เองก็ไม่ต่างกัน แถบจะลอกกันมาเลยด้วยซ้ำ 

นอกจากนั้นประเทศไทยเองก็มีแผนฟื้นฟูป่าไม้ในประเทศให้ได้ 40 % แต่พื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นกลับอยู่ในป่า ประเทศไทยมีแผนที่จะขอใช้พื้นที่ป่ามากกว่า 100 แห่ง รัฐบอกเราว่าน้ำไม่พอ เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างอ่างมากขึ้น เพื่อเก็บน้ำ ในขณะที่อ่างจะต้องไปอยู่ในป่า ป่าเราก็น้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเราก็อยากเพิ่มพื้นที่ป่า แต่เราก็มีอ่างที่จะรอสร้างในป่า ในขณะที่เรามีอ่างขนาดใหญ่อยู่ แต่ลุ่มเจ้าพระยาก็ยังน้ำท่วม เพราะฝนไม่ได้ตกลงอ่าง ปีนี้ 2565 ต้องบอกว่าฝนของภาคกลาง มากเท่า ๆ กับฝนของปี 54 แต่มันท่วมเละเทะอยู่ข้างนอกอ่าง มันไม่ได้ตกลงอ่าง แล้วยังไง ไอ้ที่จะสร้างใหม่มันมีอะไรการันตีไหมว่าฝนจะตกลงข้างในอ่าง แต่ที่แน่ ๆ มันอยู่ในป่าแน่นอน 

ระบบชลประทานของประเทศไทย ทำน้ำหายไปในระบบสูบส่ง สูบจ่ายไปประมาณ 5,000 ล้าน ลบ.ม. 

การประปานครหลวง ผลิตน้ำวันละ 5.5 ล้าน ลบ.ม. สูญเสียน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำ 30 % 

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เฉพาะพื้นที่ภาคกลาง กปภ. ผลิตน้ำเดือนละ 49 ล้าน ลบ.ม. สูญเสียน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำประมาณ 39%  

ซึ่งถ้าเราลดการสูญเสียน้ำตรงนี้ลงได้ มันก็ไม่มีความเป็นจำที่จะต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม ด้วยคำกล่าวที่ว่า “น้ำไม่พอ”  

วิกฤตน้ำไม่เคยหายไปไหน หรือจริง ๆ แล้วเราไม่เคยมีวิกฤตทางน้ำ เพราะจริง ๆ อาจเป็นเพียงชุดความเชื่อของรัฐบาลที่พยายามบอกเรา เพื่อที่จะใช้งบประมาณของประเทศชาติเพื่อการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหยุดการคอร์รัปชันเชิงนโนบาย ทุกวันนี้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นส่งผลอย่างชัดเจนต่อประเทศไทย วันนี้โลกเปลี่ยน ภูมิอากาศเปลี่ยน ประเทศไทยก็ต้องเปลี่ยน เราต้องเป็นการจัดการน้ำ  เราถึงต้องมองน้ำเป็นทรัพยากรสาธารณะ ที่มีต้นทุน น้ำทุกหยดมีต้นทุนทั้งสิ้น มองน้ำให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต สัตว์ ป่า นิเวศน์ ดังเช่นคำกล่าวในข้างต้นว่า 

“เมื่อใดก็ตามที่เราเปลี่ยน Mindset ที่เรามีต่อน้ำ วันนั้นวิธีการที่เราปฏิบัติต่อน้ำจะเปลี่ยนไป”  

เรื่อง : นาย อัครวิชญ์ จันทร์พูล 

อ้างอิง

ผู้เขียน

+ posts

เราไม่มีทางอนุรักษ์สิ่งที่เราไม่เห็นคุณค่า และเราไม่มีทางเห็นคุณค่าถ้าเราไม่รู้จักมัน