แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ

แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ

รอยต่อของป่า (Eco-tone) คือรอยต่อของระบบนิเวศที่แต่งต่างกัน ซึ่งที่มออีหืดนี้เป็นรอยต่อระหว่างป่าเบญจพรรณกับป่าเต็งรัง ซึ่งป่าเบญจพรรณ หมายถึงป่าที่มีพรรณไม้เด่น 5 ชนิด ตามความหมายของคำว่า “เบญจะ” คือ 5 ได้แก่ ไม้สัก มะค่า แดง ประดู่ และชิงชัน และป่าเต็งรังจะมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และกลาง ไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ได้แก่ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้รกฟ้า ไม้เหียง ไม้พลวง เป็นต้น ผลัดใบในฤดูแล้ง และมีไฟป่าประจำ

แนวรอยต่อนี้เป็นแนวที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม หมายความว่าป่าทั้งสองชนิดมีการต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลาในการที่จะขยายพื้นที่ของตนเอง โดยการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ล้ำเข้าไปในเขตของอีกฝ่าย แต่ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ สภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ

หากมีฝนตกชุกติดต่อกันหลายปีและไม่เกิดไฟป่า ดินจะเก็บความชื้นได้มากทำให้ป่าเบญจพรรณเป็นฝ่ายเจริญเติบโตได้ดีและขยายพื้นที่ไปยังป่าเต็งรังได้ง่าย ในทางกลับกันถ้าเกิดความแห้งแล้งหรือเกิดไฟป่าบ่อยครั้ง จะทำให้ป่าเต็งรังเจริญได้ดีเช่นกัน

 

 

ดูรายละเอียดเส้นทางศึกษาธรรมชาติมออีหืดเพิ่มเติม


เรื่อง ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ภาพประกอบ ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร