ชวนทำความรู้จัก ปูเสฉวนบก

ชวนทำความรู้จัก ปูเสฉวนบก

‘ปูเสฉวนบก’ หรือ Land hermit crab เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในสกุล Coenobita กลุ่มเดียวกับปูและกุ้ง (Crustacea) ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 5 นิ้ว อาศัยอยู่ในเปลือกหอย หรือที่เราเรียกว่า “บ้านปูเสฉวน”

ปูเสฉวนบกอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล สามารถพบได้ตามพืชที่ขึ้นอยู่บนหาดทราย และพื้นที่ที่มีเศษใบไม้ปกคลุม

แถมยังสามารถกินอาหารได้ทั้งซากพืช และซากสัตว์ เป็นผู้ย่อยสลายทั้งแบคทีเรีย และเชื้อโรค ซึ่งถือเป็นนักทำความสะอาดชายหาดตัวยงอีกด้วย

‘ปูเสฉวนบก’ มีพฤติกรรมการวางไข่ 3 ครั้ง/ฤดูกาล/ปี ขั้นตอนการลอกคราบนั้นอาจใช้ระยะเวลาสามสัปดาห์ถึงสามเดือนขึ้นอยู่กับขนาดของปูเสฉวนบก บางครั้งอาจพบพฤติกรรมการกินคราบเก่าของปูเสฉวนเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุ

ก้ามขนาดใหญ่ด้านซ้ายของปูเสฉวนใช้ในการป้องกันตัว และใช้เป็นฝาปิดเปลือกหอยเพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก ส่วนก้ามด้านขวาที่เล็กกว่าใช้หยิบส่งอาหารและน้ำนั่นเอง

ปูเสฉวนบก

ภัยคุกคามที่พบได้ในปูเสฉวนบก คือ จำนวนเปลือกหอยในธรรมชาติลดน้อยลงเนื่องจากกิจกรรมมนุษย์ เช่น นำมาทำเครื่องประดับ และปัญหามลพิษจากขยะทะเล ทำให้ปูเสฉวนบกติดเชื้อและอาจถึงตายในที่สุด

และในปัจจุบันมีการซื้อขาย ‘ปูเสฉวนบก’ เพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ทำให้ถูกจับจากธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต

ถึงแม้ในปัจจุบัน ‘ปูเสฉวนบก’ ยังไม่ได้ประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่หากจับในพื้นที่อนุรักษ์ก็ถือว่าผิดกฎหมายและเราก็ไม่ควรที่จะนำสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ที่อยู่อาศัยเดิม เพราะสัตว์ทุกชนิดล้วนมี safe zone ที่เรียกว่าบ้านเสมอค่ะ

รัก(ษ์)ปูเสฉวนแล้ว อย่าลืมรัก(ษ์)บ้านปูเสฉวนด้วยนะ

.


อ้างอิง