ภาพถ่าย กวางผา ที่ดอยม่อนจอง

ภาพถ่าย กวางผา ที่ดอยม่อนจอง

พ.ศ. 2528 สืบ นาคะเสถียร ได้เดินทางไปยังดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ร่วมกับ ดร.ชุมพล งามผ่องใส เพื่อทำงานศึกษาวิจัยเรื่องกวางผา สัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งที่ หายากของเมืองไทย ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ เฉพาะตามภูเขาสูงที่ มีหน้าผาชันบริเวณภาคเหนือของประเทศ

เวลานั้นเรื่องราวของกวางผาถือสัตว์ปริศนาที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก และยังไม่มีการทำวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ในประเทศไทย มาก่อน

สืบ นาคะเสถียร พร้อมคณะได้ออกติดตามและสำรวจ กวางผาที่ดอยม่อนจอง พบว่า ณ ช่วงเวลานั้น มีกวางผาอยู่ ประมาณ 20 ตัว ขณะที่ผืนป่าอื่นๆ ยังไม่รู้จำนวนว่ามีมาก หรือน้อยเพียงใด เพราะกวางผามีถิ่นฐานกระจายอยู่เฉพาะ ตามหน้าผาของภูเขาที่สูงชันบางแห่งของภาคเหนือ บริเวณ ต้นน้ำแม่ปิงเท่านั้น อีกทั้งยังพบว่ามีภัยคุกคามจากการ ล่าสัตว์ ดังที่สืบได้บันทึกคำบอกเล่าของเพื่อนร่วมทางเอา ไว้ว่า “น่าจะเป็นพวกล่าสัตว์ที่ชอบจุดไฟ เพื่อให้สัตว์ที่เข้าไป อาศัยร่มไม้ในฤดูร้อนวิ่งออกมาข้างนอก”

และผลจากภัยคุกคามของคนที่เข้ามาล่าสัตว์ ก็ทำให้เกิด เหตุการณ์สูญเสียผู้ร่วมทีมคนสำคัญในการศึกษาวิจัย คือ คุณคำนึง ณ สงขลา หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าดอยมูเซอ ใน การลงพื้นที่ครั้งนั้น

อ่านเพิ่มเติม หนึ่งชีวิตให้กับการแกะรอยกวางผา

กวางผา Burmese Goral
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nemorhaedus evansi

กวางผา มีขนาดเล็กกว่าเลียงผา ตัวสูง ประมาณ 2 ฟุต มีลักษณะคล้ายแพะ แต่ไม่มี เคราอย่างแพะ มีหางสั้น ขนตามตัวสั้น และ มีสีน้ำตาลปนเทา ขนตามสันหลังมีสีเข้มเป็น แนวตลอด หางมีสีดำ เขาสั้นมีสีดำ และตรง ปลายโค้งไปทางข้างหลัง มีลักษณะคล้ายขอ

กวางผา เป็นสัตว์ที่มีความว่องไวประเปรียว ชอบอยู่ตามที่สูงและมักอยู่รวมกันเป็นฝูง ประมาณ 5-6 ตัว บางครั้งอยู่เป็นคู่หรือตัว เดียว ปกติจะอยู่บนยอดเขา หรือบริเวณ ไหล่เขา หรือตามหน้าผาที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม อยู่ ชอบออกหากินในเวลาเช้าตรู่หรือในเวลา ที่แดดไม่ร้อนจัดและตอนเย็น อาหารได้แก่ ใบไม้อ่อนๆ หรือหน่อพืชบางชนิด

ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered species) ตามการจัดลำดับ ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN), จัดอยู่ในบัญชี Appendix I ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES), สัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535