สภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 และอาจจะแย่ลงอีกในอนาคต

สภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 และอาจจะแย่ลงอีกในอนาคต

นี่คืองานวิจัยอันแรกที่ยืนยันการเชื่อมโยงระหว่างสภาวะโลกร้อนกับปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นบนโลกกว่าศตวรรษที่ผ่านมา จากการศึกษาวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์จาก Columbia University’s Earth Institute ได้ใช้วงปีของต้นไม้ และแบบจำลองทางสภาพภูมิอากาศเพื่อย้อนเวลากลับไปในศตวรรษที่ผ่านมา ก็ได้พบหลักฐานที่ชัดเจนว่าก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นได้ส่งผลกระทบต่อภัยแล้งทั่วโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1900
.

วิธีแรกคือการศึกษาข้อมูลจากวงปีต้นไม้ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความชื้นในดิน ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ และวิธีที่สองคือการใช้แบบจำลองทางสภาพภูมิอากาศ ที่ถึงแม้ว่าจะไม่มีการจดบันทึกข้อมูลในอดีตก็ตาม แต่แบบจำลองนี้ไม่เพียงแต่คาดการณ์อนาคตได้ แต่ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ในอดีตอีกด้วย ผลจากการใช้วิธีทั้งสองนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงช่วยกันสนับสนุนและยืนยันความถูกต้องของทั้งคู่ 

การศึกษาวงปีของต้นไม้นั้นได้อ้างอิงกับข้อมูลของสถาบัน Columbia’s Lamont-Doherty Earth Observatory ที่มีข้อมูลวงปีของต้นไม้จากทั่วโลกย้อนกลับไปถึง 2 พันปีที่แล้ว ซึ่งถูกรวบรวมไว้โดยนักวิทยาศาสตร์ Edward Cook ซึ่งเป็นพ่อของ Benjamin Cook ที่เป็นหนึ่งในนักวิจัยในเรื่องนี้ด้วย

Kate Marvel ผู้นำทีมวิจัยในเรื่องนี้ได้กล่าวว่า “วงปีของต้นไม้ได้พาเราย้อนเวลา และวาดภาพให้เราเห็นถึงปัญหาภัยแล้งในอดีตก่อนจะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม” ในส่วนด้านของโมเดลนั้น Kate ก็ได้กล่าวว่า “โมเดลก็ได้บอกว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 นั้นได้มีการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกจริง และเราสามารถใช้ผลจากทั้งสองนี้เป็นหลักฐานชิ้นดีเลยที่จะบอกว่ามนุษย์นั้นมีอิทธิพลในเรื่องนี้”

การหาผู้กระทำผิดในเรื่องของภัยแล้ง

นักวิทยาศาสตร์รู้มานานแล้วว่าปัญหาโลกร้อนมีเพิ่มขึ้นในทั่วทุกมุมโลก เช่น อเมริกาตะวันตกเฉียงใต้นั้นแล้งมาก แต่ส่วนอื่นนั้นกลับมีฝนมากขึ้น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ก็ได้เตือนว่าฝนหรือภัยแล้งเกิดขึ้นเพราะกิจกรรมของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งการวิเคราะห์วงปีในต้นไม้ออกเป็นสามช่วงใน 120 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าบนปัญหาภัยแล้งนั้นมีรอยนิ้วมือของมนุษย์อยู่ด้วย 

ช่วงแรกคือปี ค.ศ.1900-1949 มันทำให้เห็นว่าออสเตรเลีย และประเทศแถวทะเลเมดิเตอเรเนียนนั้นแล้งมาก แต่ดันมีสภาพกลับกันในเอเชีย 

ช่วงต่อมาในปี ค.ศ.1950-1975 แย่ยิ่งกว่าเดิมเสียอีก เมื่องานวิจัยพบ “แอโรซอล” (อนุภาคที่เกิดขึ้นมาจากการเผาไหม้เชื่อเพลิงฟอสซิล) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากก่อนที่จะมีการกำหนดมาตรการป้องกันมลพิษ ที่มีทั้งการป้องกัน และกำจัดก๊าซเรือนกระจก

ช่วงสุดท้ายคือตั้งแต่ปี ค.ศ.1981-2017 สัญญาณความแห้งแล้งจากน้ำมือมนุษย์ก็ได้กลับมาให้เห็นอีกครั้ง และมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดปัญหาหนักขึ้นในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า และจากน้ำมือมนุษย์ในครั้งนี้ ปัญหาภัยแล้งทั้งในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมาก

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Climate change has contributed to droughts since 1900—and may get worse
ถอดความและเรียบเรียงโดย วณัฐพงศ์ ศิริวิภานันท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร