เมืองที่เสี่ยงต่อวิกฤติสิ่งแวดล้อมมากที่สุด 99 อันดับจาก 100 อันดับอยู่ในภูมิภาคเอเชีย

เมืองที่เสี่ยงต่อวิกฤติสิ่งแวดล้อมมากที่สุด 99 อันดับจาก 100 อันดับอยู่ในภูมิภาคเอเชีย

รายงานฉบับล่าสุดโดย Verisk Maplecroft ระบุว่าเมืองใหญ่ในเอเชียเผชิญความเสี่ยงจากภัยพิบัติจากสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งคลื่นความร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ ประเทศที่เสี่ยงที่สุด 100 อันดับนั้น มีประเทศในภูมิภาคเอเชียมากถึง 99 อันดับโดย 37 เมืองอยู่ในประเทศจีนและ 43 เมืองอยู่ในประเทศอินเดีย
.

รายงานฉบับดังกล่าวพบว่าเมืองใหญ่ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกกว่า 414 เมืองซึ่งมีประชากรรวมกว่า 1.4 พันล้านคนมีความเปราะบางต่อมลภาวะ น้ำอุปโภคบริโภค ความร้อนรุนแรง ภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเมืองที่มีความเสี่ยงที่สุดในโลก 10 อันดับแรกคือ

  1. จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
  2. เดลี ประเทศอินเดีย
  3. เชนไน ประเทศอินเดีย
  4. สุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย
  5. จันดิการ์ ประเทศอินเดีย
  6. อากรา ประเทศอินเดีย 
  7. มีรัท ประเทศอินเดียฃ
  8. บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย
  9. อลิการ์ ประเทศอินเดีย
  10. กานปุระ ประเทศอินเดีย

 

อินโดนีเซีย

จาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซียนได้รับการจัดอันดับเป็นเมืองที่เสี่ยงที่สุดในโลกเนื่องจากมลภาวะทางอากาศขั้นรุนแรง เมืองดังกล่าวยังเสี่ยงต่อภัยคุกคามอย่างอุทกภัยและแผ่นดินไหวอีกด้วย ประชากรกว่าสิบล้านคนของจาการ์ตาต้องเผชิญกับการจราจรที่แออัด และยังเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่จมลงสู่มหาสมุทรเร็วที่สุดของโลกอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2562 ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดได้เปิดเผยแผนจะย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซียจากจาการ์ตาซึ่งอยู่บนเกาะชวาไปยังเกาะบอเนียว อย่างไรก็ดี แผนการดังกล่าวก็ไม่สามารถเดินหน้าได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19
.

อินเดีย

เมืองใหญ่ของอินเดียวไม่ว่าจะเป็นอินเดีย เชนไน ชัยปุระ ลัคเนาว์ บังคาร์ลอร์ และศูนย์กลางทางการเงินอย่างมุมไบ ต่างติดอยู่ใน 30 อันดับแรกของเมืองที่เสี่ยงที่สุดในรายงานฉบับดังกล่าว เมื่อไม่กี่ปีมานี้ กรุงนิวเดลีเพิ่งกลายเป็นพาดหัวข่าวทั่วโลกหลังจากรัฐบาลตัดสินใจประกาศภาวะวิกฤติทางสาธารณสุขและสั่งให้หยุดโรงเรียนเนื่องจากมลภาวะอากาศเข้าขั้นเลวร้าย

อินเดียซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้เผชิญกับความท้าทายทั้งมลภาวะทางอากาศและน้ำ รายงานฉบับนี้ยังย้ำว่าอากาศที่เลวร้ายอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร 1 ใน 5 ของอินเดียในปี พ.ศ. 2562 ทำให้สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจไปกว่า 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มลภาวะทางน้ำคิดเป็นต้นทุนราว 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน อีกทั้งยังเป็นสาเหตุการตายของประชากรอีกกว่า 400,000 คนในแต่ละปี
.

เอเชียตะวันออก

เมืองใหญ่ในฝั่งเอเชียตะวันออกเผชิญความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เมืองในจีน เช่น กวางโจวและตงกว่านเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ส่วนเมืองเซินเจิ้นในจีน รวมถึงโตเกียวและโอซากาในญี่ปุ่นเสี่ยงต่อการเผชิญแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น

มลภาวะเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของประเทศจีน รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองและเผชิญความเสี่ยงอย่างยิ่งจากมลภาวะ 286 ล้านคนจาก 336 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศจีนและอินเดีย
.

แอฟริกา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมน่ากังวลมากขึ้นโดยที่ภูมิภาคแอฟริกานับว่าน่าเป็นห่วง เมืองที่เปราะบางต่อภาวะอากาศสุดขั้วกลับเป็นเมืองที่แทบไม่มีกลไกป้องกันผลกระทบทางกายภาพที่อาจจะเกิดขึ้น

“อันตรายสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือการที่ทำให้ความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพอากาศรุนแรงยิ่งขึ้น” Will Nichols หัวหน้าทีมวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศจาก Verisk Maplecroft กล่าว “อุณหภูมิที่สูงขึ้น รวมถึงความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์ภูมิอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ ภัยแล้ง และอุทกภัย จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตและโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายเมืองทั่วโลก”

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Asia accounts for 99 out of 100 top cities facing the biggest environmental risks

ผู้เขียน

+ posts

บัณฑิตการเงินและการบัญชีที่สนใจความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม หมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน เขียน เรียนคอร์สออนไลน์ และเลี้ยงลูกชายวัยกำลังน่ารัก