ไม้กลายเป็นหิน ได้อย่างไร

ไม้กลายเป็นหิน ได้อย่างไร

‘ไม้กลายเป็นหิน’ ได้อย่างไร

Permineralization หรือ กระบวนการแทรกซึมของแร่ธาตุในรูพรุนของโครงสร้างสิ่งมีชีวิต ทำให้รูปทรงของชิ้นส่วนนั้นคงตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์อย่าง ‘ไม้กลายเป็นหิน’ (Petrified wood)

‘ไม้กลายเป็นหิน’ หรือ Petrified wood เกิดจากไม้ที่ถูกทับถมอยู่ใต้ดินในสภาพที่ขาดออกซิเจน ทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลได้พาเอาสารละลายซิลิกาจากธรรมชาติ เข้ามาแทนที่หรือแทรกซึมเข้าตามรูพรุนตามเซลล์ต่างๆ ของเนื้อไม้ เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยล้านปี สารละลายซิลิกาได้ตกตะกอนและแข็งตัวคล้ายหิน แต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้

ส่วนที่มีสีต่างๆ เกิดจากแร่ธาตุหรือสารประกอบต่างๆ ปนอยู่ในสารละลายซิลิกา เรียกว่ามลทิน (impurity) โดย คาร์บอนให้สีดำ โคบอลต์,โครเมียม,ทองแดงให้สีเขียว สีน้ำเงิน เหล็กออกไซด์ให้สีแดง สีน้ำตาล สีเหลือง แมงกานีสให้สีชมพู สีส้ม แมงกานีสออกไซด์ให้สีดำ สีเหลือง เป็นต้น

ไม้กลายเป็นหิน

รู้หรือไม่ ? “ต้นทองบึ้ง (Koompassioxylon elegans)” กำลังจะกลายเป็นไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก! โดยกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Records) ในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย (เตรียมการ) ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ซึ่งขุดพบครั้งแรกเมื่อเดือน พ.ย. 2546 และทำการขุดเปิดหน้าดินจนสุดลำต้นเมื่อปี 2548 ความโตเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.80 เมตร ยาว 72.22 เมตร หลังขุดค้นพบถูกน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดการกัดกร่อน ปัจจุบันเหลือเพียง 69.70 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร และมีอายุไม่ต่ำกว่า 120,000 ปี!


เรื่อง/ภาพ ภัสราภรณ์ ล้อประกานต์สิทธิ์

อ้างอิง