ประชาสัมพันธ์ งานวันช้างไทย การอนุรักษ์และอยู่ร่วมกัน: ความหวังของวิถีชีวิตที่ยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก

ประชาสัมพันธ์ งานวันช้างไทย การอนุรักษ์และอยู่ร่วมกัน: ความหวังของวิถีชีวิตที่ยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก

งานวันช้างไทย การอนุรักษ์และอยู่ร่วมกัน : ความหวังของวิถีชีวิตที่ยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก วันที่ 16 มีนาคม 2567 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) จัดโดย สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย สมาคมนิเวศยั่งยืน (Ecoexist Society) ไทยพีบีเอส และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ช้างเป็นสัตว์ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับคนไทยมาอย่างช้านาน มีบทบาททั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม คนไทยใช้ช้างเป็นสัตว์พาหนะ ใช้เพื่อศึกสงคราม และยังเป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งสะท้อนความสำคัญด้านจิตใจ ความเป็นสัตว์สูงส่ง และแทนสัญญะที่เป็นมงคล ด้วยความสำคัญและ สง่างามช้างไทยนี้เอง หน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชนจึงได้กำหนดวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยเข้าใจถึงความสำคัญของช้าง

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติ พื้นที่ป่าที่ลดลงกว่าในอดีต และการขยายตัวของ พื้นที่เกษตรกรรม ทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเพิ่มมากขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ข้อมูลล่าสุดจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่าประเทศไทยเป็นบ้านของช้างป่าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจำนวนประชากรช้างป่าประมาณ 4,013 – 4,422 ตัว อย่างไรก็ตาม ช้างป่าต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญอันเนื่องมาจากสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย กิจกรรมการพัฒนาของมนุษย์ การเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระหว่างปี 2563 – 2566 เกิดเหตุการณ์ของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างมากกว่า 3,800 ครั้ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ขณะเดียวกันช้างป่าก็บาดเจ็บและเสียชีวิตอันเนื่องมาจากความขัดแย้ง ปรากฎการณ์ความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชุมชนและลดพลังการสนับสนุนการอนุรักษ์ช้างป่าของประชาชนรอบพื้นที่อนุรักษ์

สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) สมาคมนิเวศยั่งยืน (Ecoexist Society) มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ภาคีหลักการจัดงาน ร่วมกับภาคีหนุนเสริมจากมูลนิธิช้าง แห่งประเทศไทย (Asian Elephant Foundation of Thailand) จึงเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ช้าง ในวันที่ช้างไทยอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่ส่งผลกระทบต่อช้างและผู้คน จนนำมาซึ่ง ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง ความท้าทายต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงเพื่อแสวงหาสมดุลให้คนรอบพื้นที่และ ช้างป่ามีสิทธิในการดำรงชีพอย่างปลอดภัยและเป็นสุข ไปพร้อมกับการรักษาช้างป่าเอเชียที่เป็นมรดกทาง ธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธุ์

เดือนมีนาคมที่เป็นหมุดหมายของวันช้างไทย ปี 2567 ทางคณะผู้จัดงานวันช้างไทย จึงอยากร่วมสื่อสารกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงสถานการณ์ของช้างและการจัดการช้างของประเทศ  ไทยบนสถานการณ์ใหม่ โดยการจัดงานวันช้างไทยในวันที่ 16 มีนาคม 2567 ในชื่องาน “งานวันช้างไทย การอนุรักษ์และอยู่ร่วมกัน: ความหวังของวิถีชีวิตที่ยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก”

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน

1. เพื่อสื่อสารสถานการณ์การอนุรักษ์และการจัดการช้างป่าของประเทศไทย ผ่านโครงการวิจัยและ พัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย

2. เพื่อสร้างพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการอนุรักษ์และจัดการช้างป่า บนสถานการณ์ใหม่ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า

3. เพื่อสร้างการเรียนรู้แก่สาธารณะต่อความสำคัญของช้างไทย และสถานการณ์คนกับช้างป่าในมิติ สังคมที่หลากหลาย

โดยงานวันช้างไทยในวันที่ 16 มีนาคมนี้ จะมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนการจัดการช้างจากภาครัฐ ภาค ประชาสังคม และเปิดพื้นที่เพื่อฟังเสียงของประชาชนจากพื้นที่กลุ่มป่าสำคัญที่เป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าใน ประเทศไทย โดยครอบคลุมองค์กรและประชาชนจากกลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าตะวันออก กลุ่มป่าดงพญาเย็น- เขาใหญ่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน (กุยบุรี) กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว และกลุ่มป่าเขาหลวงเขาบรรทัด รวมถึงองค์กร พัฒนาเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานทูต ช่างภาพและเครือข่าย สื่อสารมวลชน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและหนุนเสริมเป้าหมายที่ท้าทายให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และสร้างความรู้ และพัฒนานวัตกรรมเพื่ออนุรักษ์และจัดการช้างป่าบนสถานการณ์ใหม่ที่มีหมุดหมายเป็นวัน ช้างไทย

กำหนดการ

08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน

09.00 – 09.05 น. รับชมวิดีโอเกี่ยวกับช้างไทย

09.05 – 09.15 น. กล่าวต้อนรับ โดย คุณ May Moe Wah ผู้อำนวยการสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย

09.15 – 09.25 น. กล่าวเปิดงาน โดย ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช*

09.25 – 09.35 น. กล่าวต้อนรับ โดย คุณวรลักษณ์ ศรีใย นายกสมาคมนิเวศยั่งยืน (Ecoexist Society)

09.35 – 09.45 น. ผู้แทนจาก IUCN/WWF *

09.45 – 10.35 น. การนำเสนอผลการประชุมเรื่อง การจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า (HEC) ระดับภูมิภาค และข้อเสนอแนะเบื้องต้นเชิงนโยบายและกลไกในการขับเคลื่อนงานต่อไป โดย คุณปัญจเดช สิงห์โท ผู้จัดการโครงการ สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย

10.35 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น. เสวนา หัวข้อ วิถีชีวิตที่ยั่งยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก: การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ เพื่อการจัดการคนกับช้างป่า โดย นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รศ.ดร.ธนพล ศรียากูล* คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย (Asian Elephant Foundation of Thailand) คุณศยามล ไกยูรวงศ์* สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย วิภาพร วัฒนวิทย์ ไทยพีบีเอส

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น. การนำเสนอผลงานจากภาคีเครือข่ายเพื่อคนกับช้างป่า โดย พี่น้องเครือข่ายภาคประชาชนและพื้นที่อนุรักษ์ กลุ่มป่าภูเขียว – น้ำหนาว กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ กลุ่มป่าตะวันออก กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าเขาหลวงเขาบรรทัด กลุ่มป่าแก่งกระจาน กุยบุรี ดำเนินรายการโดย ไทยพีบีเอส

14.30 – 15.30 น. เสวนา หัวข้อ ท่ามกลางเราและช้างป่า: เราจะมีส่วนช่วยรักษาการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสัตว์ป่าใน ภูมิทัศน์ที่มีกิจกรรมหลักจากมนุษย์ได้อย่างไร โดย ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์* ประธานกรรมการบริหารบริษัทน้ำตาลนครเพชร คุณณกรณ์ ตรรกวิรพัท* ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คุณสฤณี อาชวานันทกุล* องค์กรสมาชิกเครือข่ายแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ผู้ดำเนินรายการ: คุณปัญจเดช สิงห์โท ผู้จัดการโครงการ สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย

15.30 – 16.30 น. เวทีอภิปราย การประกันภัยและจ่ายค่าตอบแทนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับ ช้างป่า โดย ดร. โสมรัตน์ จันทรัตน์* ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดร.สมหญิง ทัฬหิกรณ์ * ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช Mr. Paul Steele Chief economist, Shaping Sustainable, Markets International Institute for Environment and Development (IIED) (VDO) Dr. Farina Othman Founder and Director of Seratu Aatai, Malaysia ผู้ดำเนินรายการ: คุณพิเชฐ นุ่นโต เลขาธิการสมาคมนิเวศยั่งยืน (Ecoexist Society)

16.30 – 17.00 น. นำเสนอแนวทางการทำงานต่อไปของโครงการดาร์วิน และสรุปปิดการสัมมนา โดย ผู้แทนจากสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย

*หมายเหตุ อยู่ระหว่างติดต่อประสานการเข้าร่วม

กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน

  • ตลาดนัดสีเขียว (Green Market)
  • นิทรรศการจากพื้นที่แต่ละกลุ่มป่า
  • เวิร์คช้อป: กาแฟช้างป่า, สครับผิวจากกากกาแฟช้างป่า, ชิมกาแฟช้างป่า, การทำกระดาษจากมูลช้าง, เสื้อผ้าจากสีของมูลช้าง และสมุนไพรในภูมิทัศน์ที่เป็นมิตรกับช้าง
  • การฉายสารคดีช้างป่า โดยไทยพีบีเอส
  • เปิดตัวกิจกรรมแฮคกาตอน (Hackathon) ระดมไอเดียเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างอย่าง ยั่งยืน โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ
  • นิทรรศการภาพถ่ายช้างป่าและสถานการณ์คนกับช้างจากช่างภาพสัตว์ป่า

งานวันช้างไทยในครั้งนี้เป็นงานที่ต่อเนื่องกับงานวันที่ 13 มีนาคม จัดโดย Asian Elephant Foundation of Thailand โดยงานวันที่ 16 มีนาคม จัดโดยภาคีเครือข่ายนำการจัดโดย สมาคมสัตว วิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย, สมาคมนิเวศยั่งยืน (Ecoexist Society) องค์การกระจาย เสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS), กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และภาคีหนุนเสริมโดย มูลนิธิช้างเอเชียแห่งประเทศไทย (Asian Elephant Foundation of Thailand)