สาส์นสืบ – ปลูกสมุนไพร ต่อลมหายใจผืนป่า

สาส์นสืบ – ปลูกสมุนไพร ต่อลมหายใจผืนป่า

หลายคนที่เคยท่องเที่ยวในป่า ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต่างก็รับรู้ว่าในป่ามีพืชพรรณและส่ำสัตว์หลากชนิด แต่น้อยคนที่จะทราบว่าในป่ายังมีชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นรากฐานในการหล่อเลี้ยง ‘คนในป่า’

‘แล้วทำไมไม่ใช้กฎหมายบังคับให้คนออกมาให้หมด‘ นี่อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจ แต่ในความเป็นจริง หลายชุมชนที่ตั้งรกรากในพื้นที่อนุรักษ์ กลับเป็นผู้มีสิทธิโดบชอบธรรมที่อยู่มาก่อนมีการประกาศรับรองเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย

และนั่นคือจุดกำเนิดของโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม หรือโครงการจอมป่า ที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จับมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการมาครบรอบ 10 ปี

โจทย์ของการจัดการพื้นที่ถูกตอบโดยใช้กรอบความมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยการทำแนวเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชน เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างชุมชนและภาครัฐ เพื่อให้ไม่เกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่าเพิ่มเติม

หลังจากได้แนวเขต คำถามต่อไปที่เราต้องตอบคือ ทำอย่างไรเพื่อให้ไปถึงจุดหมาย ‘คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได่ สัตว์ป่าอยู่ได้’ ซึ่งคำตอบนั้นเราได้จากการร่วมมือกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดยหนุนเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ที่สามารถ ‘ตอบโจทย์’ ทั้งเรื่องรายได้ เพิ่มคุณภาพชีวิต ใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และการลดการใช้สารเคมี

แต่กว่าจะก้าวมาถึงทุกวันนี้ เครือข่ายสมุนไพรอินทรีย์ในผืนป่าตะวันตกเรียกได้ว่าล้มลุกคลุกคลาน ผ่านการทำงานหนักตลอด 4 ปี เพื่อใช้สมุนไพรต่อลมหายใจให้ผืนป่า

อ่านต่อที่