สาส์นสืบ – กระเช้าภูกระดึง มโนโปรเจ็คท์

สาส์นสืบ – กระเช้าภูกระดึง มโนโปรเจ็คท์

หากเอ่ยถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในฤดูหนาว ‘ภูกระดึง’ ย่อมเป็นถานที่แรกที่นักท่องเที่ยวชาวไทยนึกถึง และหวังจะได้ขึ้นไปพิชิตยอดภูกระดึงสัมผัสอากาศหนาวเย็น ชื่นชมทัศนียภาพความสวยงามของหลังแป แม้จะต้องฝ่าฟันความยากลำบาก ความเหนื่อยกาย แลกกับเวลา 4-5 ชั่วโมง ที่ต้องเสียไปตาม

ทว่า ความเหนื่อยยากในการเดินขึ้นไปพิชิตยอดภูกระดึงนี้เองที่กลับเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กับสถานที่อย่างแท้จริง ชนิดที่ว่าหากมาภูกระดึง ก็ต้อง ‘เดินขึ้น’ ยอดภูกระดึง

แต่ทว่าหากเกิดกระเช้าไฟฟ้าขึ้นมาแทนที่แล้ว เสน่ห์ที่ว่านี้จะยังคงมนต์ขลังให้กับภูกระดึงอยู่อีกหรือไม่ ?

หากมีกระเช้าขึ้นภูกระดึงขึ้นมา แน่นอนว่าธรรมชาติสองข้างทางตลอดทางจากจุดเริ่มต้นที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบ้านศรีฐานซึ่งสามารถเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติได้ก็จะไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกต่อไป

ตรงกันข้ามหากมีการสร้างกระเช้าภูกระดึงภาระหนักกลับจะไปตกอยู่บนสถานีปลายทางซึ่งก็คือบริเวณผาหมากดูกซึ่งห่างจากหลังแปประมาณ 800 เมตร ไปสู่บริเวณกางเตนท์อีกราว 3 กิโลเมตร

และนอกจากนั้น ยังต้องอาศัยแรงกายเดินไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยต้องแบกกระเป๋าไปด้วยแบบปราศจากลูกหาบ การใช้กระเช้าขึ้นภูกระดึงจึงไม่ใช้ทางเลือกที่ดีนักของผู้ที่ไม่มีแรงกายที่จะเดินทางระยะไกลๆ ได้

นอกจากนั้น จากที่ระบุไว้ว่าการสร้างกระเช้าภูกระดึงที่ลงทุนกว่า 800 ล้านบาทจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวได้กว่า 1 – 2 หมื่นคนต่อวัน ภาระหนักย่อมไปตกอยู่กับธรรมชาติด้านบนภูกระดึงที่จะถูกเหยียบย่ำจนไม่สามารถจินตนาการออกได้เลยว่าความบอบช้ำของธรรมชาติจะไปถึงจุดไหนกับการที่ต้องรองรับนักท่องเที่ยวกว่า 500 คนต่อหนึ่งชั่วโมง

ชวนอ่าน สาส์นสืบ ฉบับ กระเช้าภูกระดึง มโนโปรเจ็คท์ หรือดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่