เยอรมันเดินหน้าปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 84 แห่งเพื่ออนุรักษ์โลก

เยอรมันเดินหน้าปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 84 แห่งเพื่ออนุรักษ์โลก

เยอรมันจะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 84 แห่งภายในประเทศ เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่อุปโภคถ่านหินมากที่สุดในโลก แต่จะผันตัวไปอิงจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าที่ปิดตัวลง 

การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อต้นปี หลังจากที่เยอรมันเผชิญความท้าทายที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ถ่านหินคิดเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 40 ในประเทศเยอรมันเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อ้างจากรายงานโดย Los Angeles Times

“นี่คือความสำเร็จที่จะเป็นหนึ่งหน้าของประวัติศาสตร์” Ronald Pofalla ประธานคณะกรรมการ 28 คณะของรัฐบาลกล่าวในงานแถลงต่อผู้สื่อข่าว ณ กรุงเบอร์ลินเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา “หลังจากนี้จะไม่มีความไม่แน่นอนอีกแล้ว เราจะต้องทำให้ได้เพื่อให้ไม่เหลือโรงไฟฟ้าถ่านหินในเยอรมันอีกต่อไปหลังจาก พ.ศ. 2581” 

 

อุตสาหกรรมถ่านหินของเยอรมัน

ถ่านหินคือเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป โดยเยอรมันถือว่าเป็นเจ้าตลาดที่รับผิดชอบราว 1 ใน 3 ของการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้า อ้างอิงจากรายงาน Carbon Brief ซึ่งกระแสไฟฟ้าราวครึ่งหนึ่งของสหภาพยุโรปผลิตจากถ่านหินลิกไนต์ที่ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงอย่างยิ่ง

ในสหรัฐอเมริกา มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีทรัมป์เนื่องจากคำสัญญาของเขาที่จะฟื้นอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงขาลง บางคนก็แสดงพลังโดยเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถาบันทั่วโลกกว่า 1,000 แห่งได้ให้คำมั่นว่าจะลดการลงทุนในแก๊ส ถ่านหิน และน้ำมัน โดยเป็นการดึงเม็ดเงินลงทุนมูลค่ากว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐออกจากอุตสาหกรรมดังกล่าว

ราวครึ่งปีนี้ การผลิตถ่านหินของเยอรมันลดลงไปกว่า 1 ใน 5 โดยถูกทดแทนด้วยพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมนั้นอยู่บนเส้นทางที่จะกลายเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดภายในประเทศแซงหน้าลิกไนต์ซึ่งไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เยอรมันยังให้คำมั่นว่าจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 19 แห่งตั้งแต่เหตุวิกฤตการณ์ฟุกุชิมาเมื่อ พ.ศ. 2554 พลังงานหมุนเวียนจะผลิตไฟฟ้าราวร้อยละ 65 ถึง 80 ภายใน พ.ศ. 2583 บริษัทที่ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมากที่สุดอย่าง RWE AG ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอนในปีเดียวกัน

“นี่นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญของนโยบายรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเยอรมันที่อาจพลิกให้เรากลายเป็นประเทศผู้นำด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกครั้ง” Claudia Kemfert อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์พลังงานจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเยอรมันให้สัมภาษณ์ “นี่ยังเป็นสัญญาณอันดีต่อนานาประเทศว่า เยอรมันได้กลับมาเอาจริงเอาจริงอีกครั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งครั้งหนึ่งเราเคยพึ่งพาอาศัยถ่านหินอย่างมาก แต่ได้ตัดสินใจที่จะปิดโรงไฟฟ้าดังกล่าวทั้งหมด”

เยอรมันจะลงทุนกว่า 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อบรรเทาความสูญเสียจากภูมิภาคอุตสาหกรรมถ่านหิน แต่บางคนยังเชื่อว่ารัฐบาลยังทำงานไม่เร็วเพียงพอ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นักกิจกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ชุมนุมหน้าทางเข้าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ Mannaheim ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สกปรกที่สุดในประเทศ ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวทำให้การขนส่งถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นล่าช้าออกไป

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก GERMANY IS CLOSING 84 COAL PLANTS TO SAVE THE PLANET
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์