ความแตกต่าง “งู ๆ ปลา ๆ” ระหว่างที่ อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส กับ 3 องศาเซลเซียส

ความแตกต่าง “งู ๆ ปลา ๆ” ระหว่างที่ อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส กับ 3 องศาเซลเซียส

งานวิจัยอันนี้ไม่ได้จะพูดถึงงูหรอก แต่จะพูดถึงผลกระทบในเรื่องถึงปลาจากสภาวะโลกร้อน  อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น

สภาวะโลกร้อนได้ ส่งผลกระทบสู่ทะเล การประมง และวิถีชีวิตที่ขึ้นอยู่กับสองสิ่งก่อนหน้า ปริมาณของปลาในบางพื้นที่นั้นลดจำนวนลง และบางพื้นที่นั้นปลาก็หนีออกไปไกลกว่าเดิม ทำให้ชาวประมงนั้นต้องออกเรือไปไกลขึ้นในการจับปลา

ซึ่งมันก็เป็นเหตุเป็นผลกันถ้าเราลดปัญหาโลกร้อน ก็จะช่วยลดปัญหาของการประมง นักวิจัยได้ทำการศึกษาว่าถ้าเราทำตามสนธิสัญญาปารีสได้สำเร็จจริง ๆ ปลา ชาวประมง และผู้บริโภคอาหารทะเลจะได้รับผลประโยชน์อย่างไรบ้าง

นักวิจัยได้ใช้รายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และรายงานอื่น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล 10 อันดับปลาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เป็นจำนวนรวมกัน 381 สปีชี่ส์ทั่วโลก

หลังจากนั้นก็ได้ใช้โมเดลในการคำนวณผลกระทบต่อการประมง ในสถานการณ์ที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นสองแบบคือ 3.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่จะเพิ่มขึ้นถ้าเราไม่จัดการปัญหาอะไรเลย และ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่จะเพิ่มขึ้นถ้าเราทำตามสนธิสัญญาปารีสได้สำเร็จ

อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น ผลอันน่าตะลึง

นักวิจัยพบว่าถ้าเราบรรลุสนธิสัญญาปารีสได้นั้น จะมีมวลของปลาเศรษฐกิจ 381 สปีชี่ส์ที่ไม่โดนจับเพิ่มขึ้น 9.5 ล้านเมตริกตันต่อปี และจะมีมวลของปลาเศรษฐกิจ เยอะกว่าการเพิ่มอุณหภูมิที่ 3.5 องศาเซลเซียส อยู่ 6.5% ปริมาณของการจับปลาแบบยั่งยืนจะมีอยู่ 3.3 ล้านเมตริกตัน ถ้ามองให้เป็นในรูปของเงิน ชาวประมงในโลกจะมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมกัน 13.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับอาหารทะเลมีรายได้เพิ่มขึ้น 10.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และผู้บริโภคจะประหยัดไป 18.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะอาหารทะเลหาง่าย และมีปริมาณมากขึ้น ทุกทวีปยกเว้นยุโรปจะมีมวลของปลาเพิ่มขึ้น โดย 75% ของประเทศที่ติดทะเลจะได้รับผลประโยชน์นี้

ผู้คนจากประเทศกำลังพัฒนาพึ่งพาอาหารทะเลมากกว่าผู้คนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว อาหารทะเลคือแหล่งโปรตีนมากกว่าครึ่งของผู้คนในประเทศที่เป็นเกาะ อุตสาหกรรมการประมงนั้นสร้างอาชีพประมาณ 260 ตำแหน่ง และส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และไนจีเรีย

นักวิจัยได้ทำการประมาณว่าจะมีการจับปลาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นในน่านน้ำของประเทศกำลังพัฒนามากถึง 90% ถ้าเราสามารถบรรลุสนธิสัญญาปารีสได้ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณค่าทางสารอาหารมีเพิ่มขึ้น มีอาชีพเพิ่มขึ้น เงินไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้น ปัญหาความยากจนลดลง และปัญหาการย้ายถิ่นฐานทำกินน้อยลง

กล่าวรวม ๆ แล้วก็แทบจะทุกอย่างอะแหละดีขึ้น เย่!

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก What’s the cost (in fish) between 1.5 and 3 degrees of warming?
ถอดความและเรียบเรียงโดย วณัฐพงศ์ ศิริวิภานันท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร