ทบทวนใหม่ มติปลดล็อคไม้สัก-พะยูงขายต่างชาติ ห่วงมาตรการควบคุมยังไม่ดีพอ

ทบทวนใหม่ มติปลดล็อคไม้สัก-พะยูงขายต่างชาติ ห่วงมาตรการควบคุมยังไม่ดีพอ

ไม้สักและไม้พะยูง ถือเป็นไม้ที่มีมูลค่าสูงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างชาติ ทำให้เกิดการลักลอบตัดไม้อยู่บ่อยครั้ง จึงมีมติครม. เมื่อวันที่ 11 .. 2551 ห้ามนำเข้าและส่งออกนอกประเทศ ไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้พะยูง เพื่อควบคุมการลักลอบตัดไม้ทั้งในและนอกพื้นที่อนุรักษ์

แต่ต่อมาได้มีการหารือเรื่องการปลดล็อคเพื่ออนุญาตให้ส่งออกไม้ทั้งสองชนิดนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง เนื่องจากเริ่มมีผู้ให้ความสนใจปลูกไม้ทั้งสองชนิดเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันหากมีการอนุญาตให้ซื้อขายอาจเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้มากยิ่งขึ้น

ซึ่งในการประชุมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในรอบล่าสุด (6 .. 64) คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ (คปช.) มีมติให้กลับไปทบทวนมาตราการการดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพิจารณาความพร้อมในการเสริมสร้างศักยภาพการทำไม้เศรษฐกิจส่งขายต่างประเทศอีกครั้ง

เนื่องจากยังเป็นกังวลด้านมาตรการป้องกันการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่อนุรักษ์

โดยเฉพาะในส่วนของไม้พะยูงแม้จะเริ่มมีการปลูกกันมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่ปริมาณยังมีไม่เยอะมาก หากมีการอนุญาตส่งออกต่างประเทศอาจเพิ่มความเสี่ยงในการลักลอบตัดไม้ในป่าอนุรักษ์

นอกจากนี้ไม้พะยูงยังถูกห้ามซื้อขายในระหว่างประเทศตามอนุสัญญาไซเตสที่ไทยเข้าร่วมข้อตกลงนี้ด้วย ในขณะที่ไม้สักทางองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือ อ... เป็นเจ้าเดียวที่สามารถส่งออกนอกประเทศได้

ต่อกรณีดังกล่าว มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะที่ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และพยายามผลักดันในการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ที่รัฐอนุญาต ภายหลังจากการปลดล็อคการปลูกและตัดไม้หวงห้าม ตามมาตรา 7 ...ป่าไม้ พ..2562 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อระบบนิเวศมีความเห็นสอดคล้องกับมติดังกล่าว

เนื่องจาก ปัจจุบันการส่งเสริมการปลูกไม้พะยูงในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายในพื้นที่ส่วนบุคคล เพิ่งเริ่มดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง ภายหลังจากที่มีการปลดล็อกการปลูกและตัดไม้หวงห้าม ตามมาตรา 7 ในพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) .. 2562 นับเป็นเรื่องที่ดีที่จะส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลถึงความพร้อมของผลผลิตหรือศักยภาพในการผลิตเนื้อไม้เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร จึงควรสร้างความพร้อมภายในประเทศ ก่อนที่จะพิจารณาการอนุญาตส่งออกไม้พะยูงออกนอกประเทศ

ไม้พะยูงที่มีคุณภาพ จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพพื้นที่แห้งแล้งจัด และพบในป่าธรรมชาติหรือพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งการส่งเสริมปลูกเพื่อให้เกิดการส่งออกในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ อาจไม่ได้คุณภาพของไม้ เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้แก่ผู้ปลูกมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อผลผลิตยังไม่เพียงพอไม่ได้คุณภาพอาจนำไปสู่ปัญหาการตัดไม้พะยูงจากธรรมชาติมาสวมใบอนุญาตส่งออกได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม นายภาณุเดช เกิดมะลิ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ให้แยกการพิจารณาอนุญาตโดยเริ่มจากไม้สักก่อน เพราะวันนี้มีการส่งเสริมการปลูกไม้สัก และมีการซื้อขายเป็นปกติภายในประเทศ ในขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกไม้พะยูงจริง ๆ มันยังไม่ชัดเจน ปริมาณของไม้พะยูงมันยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้ในประเทศ และยังไม่พร้อมสำหรับการส่งออก

“หากมติในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ นอกจากจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจแล้ว ก็จะทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในการปลูกไม้ทั้งสองชนิดนี้ รัฐควรกำหนดมาตรการหรือรูปแบบในการระบุที่มา และคุณภาพของเนื้อไม้ให้ได้ใกล้เคียงกับไม้ที่อยู่ในธรรมชาติ เพราะสามารถพัฒนาพันธุกรรมได้ หากมีความพร้อมเพียงพอ ก็สามารถสร้างโอกาสในการซื้อขายระหว่างประเทศในอนาคต”