.

ในป่าแห่งนี้
มากด้วยชีวิตนานา


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ไม่น้อยกว่า 120 ชนิด


นก
ไม่น้อยกว่า 400 ชนิด


สัตว์เลื้อยคลาน
ไม่น้อยกว่า 90 ชนิด


สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ไม่น้อยกว่า 50 ชนิด

.
.
แหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของปลาน้ำจืดไม่น้อยกว่า 100 ชนิด บางชนิดเป็นสายพันธุ์เฉพาะถิ่น ซึ่งไม่พบในลำน้ำอื่นๆ ของประเทศ
.
.

ด้วยความสมบูรณ์
ทำให้ทุ่งใหญ่นเรศวร
ได้รับการประกาศเป็น
มรดกโลกทางธรรมชาติ
ปี พ.ศ. 2534

logo world heritage site ty

นอกจากเป็นที่อยู่อาศัย
ของสัตว์ป่า

ยังเป็นที่ตั้งของชุมชน
อีก 14  แห่ง

ทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันตก

  • หมู่บ้านจะแก

  • หมู่บ้านทิไล่ป้า

  • หมู่บ้านสาลาวะ

  • หมู่บ้านไล่โว่

  • หมู่บ้านสะเน่พ่อง

  • หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง

  • หมู่บ้านกองม่องทะ

ทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก

  • หมู่บ้านยูไนท์

  • หมู่บ้านกรูโบ

  • หมู่บ้านตะละโคล่ง

  • หมู่บ้านแม่จันทะเก่า

  • หมู่บ้านแม่จันทะใหม่

  • หมู่บ้านทิบาเก

  • หมู่บ้านช่องแป๊ะ

ชุมชนบางส่วนตั้งรกรากอาศัยมาก่อนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ดำรงชีวิตในกรอบประเพณี วัฒธรรม ความเชื่อที่เชื่อมโยงกับป่า ผู้คนให้เคารพธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนทรัพยากรเกินความพอดี

“การเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเรียนหนังสือในโรงเรียน
ในระบบการศึกษาเหมือนที่คนข้างนอกเรียน
แล้วปัจจุบันก็มีการปกครอง มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะต้องมีนโยบายต่างๆ

แต่ปัจจัยใหญ่ๆ คือ เขาจะต้องมีสภาวะทางเศรษฐกิจที่เหมือนคนข้างนอก”

.
ศศิน เฉลิมลาภ
ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

นอกจากเรื่องวิถีชีวิต
การประกอบอาชีพก็เปลี่ยน

บางอาชีพนำไปสู่การบุกรุกพื้นที่ป่า และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ

อย่างไรก็ตาม บนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ยังมีกลุ่มที่ยึดมั่นวิถีวัฒนธรรม ประเพณี เคารพธรรมชาติ ทำมาหากิน โดยพึ่งพิงป่าให้น้อยที่สุด ใช้ต้นทุนที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ผ่านการทำงานกลุ่ม ประกอบอาชีพอย่างเป็นมิตรกับผืนป่า

การทอผ้า
สืบสานภูมิปัญญา
สู่การรักษาป่า

ตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เมื่อมีเวลาว่างจากการทำไร่เพาะปลูก หญิงสาวในทุ่งใหญ่จะทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน ตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกาย รวมถึงในงานประเพณีต่างๆ

กล่าวกันว่า สาวบ้านไหนทอผ้าไม่เป็น จะไม่มีชายมาสู่ขอ

ปัจจุบัน จากภูมิปัญญาการทอผ้า ถูกพัฒนามาเป็นสินค้าชุมชน

ภายใต้การรวมกลุ่มแม่บ้าน (ทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก) ช่วยกันต่อยอดวิถีดั้งเดิมให้กลายเป็นรายได้เสริมในครอบครัว ภายใต้แบรนด์ผ้าทอจอมป่า

ผ้าทอจอมป่า
มีสินค้ามากมายหลายแบบ

อาทิ เสื้อเชวู ยาม ผ้าถุง ผ้าคลุมไหล่ วางขายเป็นสินค้าโอทอปในท้องถิ่นและเปิดขายในรูปแบบออนไลน์ และมีศูนย์การเรียนรู้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านกล้อทอ อ.อุ้มผาง จ.ตาก

รู้หรือไม่

ทุกครั้งที่สนับสนุนผ้าทอจอมป่า รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้กับกิจกรรมอนุรักษ์โดยตรง

รายได้จากผ้าทอหนึ่งผืน
จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน

90% เป็นรายได้คืนกลับให้เจ้าของผ้าทอ
8% เข้ากองทุนผ้าทอ สำหรับซื้อวัตถุดิบ
2% ใช้ในกิจกรรมอนุรักษ์ป่า

“ถ้าเราทอผ้า เรามีรายได้

ปกติหลักๆ ก็เข้าไปหาในป่า เราก็ไม่ต้องไป เราได้เงินจากจุดนี้ เราก็สามารถซื้อของกินแบบของในเมือง พวกไก่พวกหมู”

.
ณัฐชา บุษบงถ์ สมาชิกกลุ่มผ้าทอจอมป่า

กาแฟรักษาป่า
เพิ่มมูลค่า
จากต้นทุน


.
แต่ทำไมต้องเป็น
กาแฟ ?

เพราะคนทุ่งใหญ่
ปลูกกาแฟกันมานาน
เป็นต้นทุนเดิม
ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง

ทำเลเพาะปลูก
สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิประเทศ
มีความเหมาะสม

คนทุ่งใหญ่ดื่มกาแฟทุกวัน
คงจะดีกว่า
ถ้าได้ดื่มกาแฟ
ที่ปลูกเอง

ทว่าที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรขาดองค์ความรู้ด้านการแปรรูป การสร้างมูลค่าจากต้นทุนวัตถุดิบ จึงทำให้ต้องขายผลกาแฟในราคาที่ถูก มีรายได้คืนกลับครัวเรือนไม่มากนัก และชุมชนยังต้องซื้อกาแฟจากข้างนอกดื่ม

จากโจทย์ทั้ง 2 ข้อ จึงนำมาสู่ การเสริมองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปกาแฟให้ได้คุณภาพ ให้ชุมชนดื่มกาแฟของตัวเอง และเพิ่มมูลค่าต้นทุนที่มีอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ

สิ่งสำคัญของการปลูกกาแฟในทุ่งใหญ่คือ การรักษากติกาอย่างเข้มข้น เช่น

  • ห้ามใช้สารเคมีในแปลงกาแฟ

  • ห้ามปลูกแบบเชิงเดี่ยว

  • ห้ามรุกป่าเพื่อปลูก

  • ห้ามปลูกในแปลงไร่หมุนเวียนเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

.

.

.

จากการเรียนรู้
เพื่อลดทุนค่าใช้จ่ายการซื้อกาแฟ
วันนี้คนในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างแบรนด์กาแฟ
เป็นของตัวเองในนาม

กาแฟไล่โว่

ปลูกขมิ้นชัน
เกษตรอินทรีย์
รักษาทั้งคนทั้งป่า

.
.
คนในทุ่งใหญ่
รู้จักขมิ้นชันมานาน
แต่ไม่รู้ว่าพืชชนิดนี้
ขายได้

.
.
ภายหลังการส่งเสริมและสนับสนุน
องค์ความรู้ และตลาดสินค้า
โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมกับ
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

การปลูกขมิ้นชันจึงเป็นอีกรายได้เสริมสำคัญให้กับคนในทุ่งใหญ่

ขมิ้นชันจะปลูกตามหัวไร่ปลายนา
ในพื้นที่เพาะปลูกเดิม
ไม่เปิดพื้นที่ใหม่
ไม่ทำแปลงปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว

.และหัวใจสำคัญ
ต้องปลูกตามมาตรฐาน
หลักเกษตรอินทรีย์


ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี
ห้ามใช้ยากำจัดศัตรูพืช
ห้ามใช้ยากำจัดวัชพืช
ห้ามใช้เฮอร์โมนสังเคราะห์
ห้ามใช้วัถุจาก GMOs

“ทำให้มีเงินเข้าครัวเรือน
ได้ส่งลูกเรียน

คำว่าพออยู่ที่เราใช้จ่าย
เราได้สิ่งที่จำเป็นก็เบาๆ หน่อย ใช้ตอนฉุกเฉิน”

.
โซนี่ เสริมสิริพร
เกษตกรในกลุ่มสมุนไพรอินทรีย์ พื้นที่อุ้มผาง จ.ตาก

อาชีพต่างๆ ที่กล่าวมา
แม้ดูว่าต่างกัน
แต่มีจุดร่วมเดียวกัน

คือการใช้ต้นทุนที่มี
อย่างคุ้มค่า
โดยไม่ต้องสร้างใหม่

หัวใจสำคัญอีกเรื่อง
คือลดการใช้ที่ดิน
และไม่บุกรุกพื้นที่เพิ่ม

และต้องไม่ขัดกับ
พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

เมื่อคนมีอาชีพ
ป่าก็ไม่ถูกบุกรุก
สัตว์ป่าไม่ถูกคุกคาม

ทุ่งใหญ่นเรศวร
จึงเป็นบ้านที่มีสันติสุข
แก่ทุกชีวิต

ขอขอบคุณ

ข้อมูล
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในผืนป่าตะวันตก
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ธวัชชัย ไทรสังขละทัศนีย์
ศศิน เฉลิมลาภ

ยุทธนา เพชรนิล
โซนี่ เสริมสิริพร
ณัฐชา บุษบงถ์

ภาพประกอบ
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ
เกศรินทร์ เจริญรักษ์

พัชริดา พงษปภัสร์