[PHOTO ESSAY] โลกใบเล็ก ของเด็กรักษ์ป่า

[PHOTO ESSAY] โลกใบเล็ก ของเด็กรักษ์ป่า

ไม่ว่าในวงการใด ต่างจำเป็นต้องสร้าง ‘คลื่นลูกใหม่’ มารับช่วงต่อ ในวงการอนุรักษ์ก็เช่นกัน ต้องเริ่มปลูกฝังความคิดเชิงอนุรักษ์ให้แก่เยาวชน โดยใช้กุศโลบายสอดแทรกแนวคิดในกิจกรรมที่สนุกสนาน ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม

 

สิ่งตีพิมพ์ในรูปแบบที่อ่านง่ายและน่าสนใจ นอกจากจะเป็นการปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์แก่เยาวชน ยังเป็นการส่งเสริมการอ่าน ทั้งยังสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

การได้สัมผัสอุปกรณ์ที่ช่วยในการศึกษาธรรมชาติอย่างกล้องส่องทางไกลตั้งแต่วัยเด็ก เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างความสนใจด้านธรรมชาติให้กับเยาวชน และยังเปิดมุมมองใหม่ๆให้มองเห็นความสวยงามของธรรมชาติ ที่อาจไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่า

 

พื้นที่ริมลำน้ำทับเสลาถูกจับจองด้วยเหล่าเยาวชนที่กำลังก้มหน้าก้มตาเปรียบเทียบตัวอย่างสัตว์ชนิดเล็กๆกับแผ่นภาพเพื่อจำแนกชนิด กิจกรรมนี้นอกจากจะฝึกทักษะการสังเกตและรวบรวมข้อมูลโดยอิงหลักวิชาการ ยังสอดแทรกให้เห็นความสำคัญของระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหารที่เกิดจากสัตว์เล็กสู่สัตว์ใหญ่

 

 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ แม้จะไม่ได้เดินลึกเข้าไปในป่าใหญ่ แต่ก็เป็นเส้นทางที่เยาวชนจะได้สัมผัสกับทัศนียภาพอันสวยงาม และได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในเรื่องร่องรอยของสัตว์ป่า และชนิดของพืชพรรณ ภาพ: กิตติธัช โพธิวิจิตร

 

บริเวณลานนักอนุรักษ์ถูกจับจองไปด้วยกลุ่มเยาวชนที่เข้ามาพูดคุยสอบถามรายละเอียดจากองค์กรอนุรักษ์ ไม่ว่าจะเป็น WWF WCS และมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ที่นำโมเดลสัตว์ป่า ซากสัตว์ และชุดความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยมาเผยแพร่ให้เยาวชนได้สัมผัสชีวิตของสัตว์เหล่านั้นในอีกมิติหนึ่ง นอกจากสิ่งมีชีวิตหลังกรงในสวนสัตว์

 

 

PHOTO : กิติธัช โพธิวิจิตร

ภาพถ่ายสัตว์ป่า เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดความงดงามที่สัมผัสได้ยาก เหล่าเยาวชนผู้เข้าร่วมงามต่างถูกภาพสัตว์ป่าที่แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ที่ถ่ายทอดจากหลังเลนส์ในป่าใหญ่สู่ห้องนิทรรศการ ภาพความงามเหล่านี้ย่อมสามารถจุดประกายฝันของเด็กรักษ์ป่าให้สืบทอดเจตนารมณ์การอนุรักษ์ต่อไป

 

 

PHOTO : กิติธัช โพธิวิจิตร

แสงเทียนเล่มน้อยที่ถูกจุดขึ้นเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ของสืบ นาคะเสถียร เปรียบดั่งเปลวไฟแห่งการอนุรักษ์ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เพราะงานอนุรักษ์เป็นงานที่ไม่มีวันเสร็จ ต้องอาศัยเยาวชนคนรุ่นหลังให้ช่วยรักษาไว้ อย่าให้แนวคิดนี้ดับสูญไปจากสังคมไทย

 


เรื่อง / ภาพ รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์