มูลนิธิสืบฯ จัดประชุมการจัดการป่าตะวันตก 22 ล้านไร่ สู่การเสนอ มรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าตะวันตก

มูลนิธิสืบฯ จัดประชุมการจัดการป่าตะวันตก 22 ล้านไร่ สู่การเสนอ มรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าตะวันตก

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 62 ที่ผ่านมา มูลนิธิสืบนาคะเสถียรจัดประชุมการจัดการป่าตะวันตก 22 ล้านไร่ สู่การเสนอ มรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าตะวันตก ณ ห้องประชุม FORTROP ชั้น 3 ตึกวนศาสตร์ 60 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อหารือและฟังความคิดเห็นจากองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยว ร่วมกันวางทิศทางการนำเสนอมรดกโลกทางธรรมชาติผืนป่าตะวันตกในอนาคต

 

 

แนวคิดที่สำคัญสู่การเสนอมรดกโลกทางธรรมชาติคือ ความโดดเด่นของพื้นที่แกนกลาง (Core Area)

คุณค่าความโดดเด่นของพื้นที่ตามการเสนอเป็นมรดกโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสายพันธุ์ แหล่งประชากรของชนิดพันธุ์สัตว์และพืชป่าเฉพาะถิ่น แหล่งชนิดพันธุ์สัตว์และพืชป่าหายาก  มีศักยภาพของความเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ตำแหน่งที่เหมาะสมทางชีวภูมิศาสตร์ มีความแตกต่างอันหลากหลายของระบบนิเวศและถิ่นที่อาศัย ของป่าอนุรักษ์ทั้ง 17 แห่ง เมื่อนำความโดดเด่นเหล่านี้มาพิจารณเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการแบ่งเขตสามารถจัดการตามเกณฑ์การพิจราณามรดกโลกได้ตรงตามข้อ 7,9 และ 10 โดยแบ่งเขตการจัดการผืนป่าเป็น 3 แผนงาน ได้แก่ 1.แผนงานการป้องกันและรักษาพื้นที่ป่า 2.แผนงานด้านวิชาการ ศึกษาวิจัย และการฟื้นฟู 3.แผนงานการมีส่วนร่วม

 

วัตถุประสงค์เพื่อจัดการป่าตะวันตก 22 ล้านไร่ สู่การเสนอมรดกโลกทางธรรมชาติผืนป่าตะวันตก

  1. เพื่อเสนอพื้นที่มรดกโลก 22 ล้านไร่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ ในพื้นที่ป่าตะวันตก
  2. เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนบริเวณโดยรอบแม่วงก์ – คลองลาน โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเป็นองค์กรหนึ่งที่จะให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ และเข้าไปสร้างความเข้าใจ พ.ร.บ.ป่าชุมชน และกิจกรรมอื่น ๆ แก่ชุมชนโดยรอบ

 

 

จากการประชุมหารือครั้งนี้ มีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ ข้อสรุปประเด็นหลักๆ คือ

  1. มีความเป็นได้ที่จะเสนอให้พื้นที่ 22 ล้านไร่ ผืนป่าตะวันตกเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ แต่ถือได้ว่าเป็นงานชิ้นใหญ่เนื่องจากพื้นที่เสนอครอบคลุมพื้นที่จำนวนมาก ประกอบด้วยหลายพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีบริบท และปัญหาแตกต่างกัน ดังนั้นในที่ประชุมมีข้อเสนอให้ วางเป้าระยะเวลาให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่กการประกาศพื้นที่มรดกโลก
  2. หากจะเสนอให้ป่าตะวันตก 22 ล้านไร่ เป็นมรดกโลกจะต้องคำนึงถึงเกณฑ์การพิจารณามรดกโลกทางธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย
  • ความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลและหลักเกณฑ์การประเมินคุณค่าดังกล่าว
  • ความครบถ้วนและความเป็นแท้ดั้งเดิม
  • ความเป็นตัวแทน ความสมดุล และความน่าเชื่อถือของบัญชีแหล่งมรดกโลก
  1. ส่วนข้อมูลการพิจารณามรดกโลกเบื้องต้นใช้ข้อมูลอ้างอิงจากเอกสารการเสนอมรดกโลกทุ่ง   ใหญ่ – ห้วยขาแข้ง โดย สืบ นาคะเสถียร และเบลินดา สจ๊วต ค็อกซ์  และข้อมูลปัจจุบันที่รวบรวมขึ้นใหม่  จากกข้อคิดเห็นในที่ประชุมเสนอว่า ยังขาดข้อมูลบางส่วนที่อาจจะมีผลต่อการพิจารณา
  2. กระบวนการนำเสนอมรดกโลกทางธรรมชาติที่ทางกรมอุทยานฯจะดำเนินการต่อหลังจากนี้คือ
  • เอกสารนำเสนอมรดกโลก (Nomination Dossier)
  • การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ( 2 – 3ปี)
  • มติคณะกรรมการมรดกโลก

จากการประชุมคาดว่าประมาณปี 2565  พื้นที่แม่วงก์ – คลองลาน จะสามารถเข้าสู่กระบวนการเสนอเอกสาร (Nomination Dossier) ต่อคณะกรรมการพิจรณามรดกโลก

 

 

 


บทความ นรินทร์ ปากบารา เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร