แพคเกจจิ้ง “อีหยังวะ”

แพคเกจจิ้ง “อีหยังวะ”

เมื่อต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 1 มกราคม 63 เป็นจุดเริ่มต้นการงดแจกถุงพลาสติกของห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ พอพูดถึงเรื่องนี้จึงไม่อาจจะมองข้ามปัญหาเรื่อง “แพคเกจจิ้ง” ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะบางครั้งเราแทบจะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธที่จะไม่รับไม่ได้ “จำเป็นต้องซื้อ เพราะต้องใช้”

แพคเกจจิ้ง ที่ดี คือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน โดยดีไซน์รูปลักษณ์ให้สวยงาม ดูดี ขณะเดียวกันจะต้องคำนึกถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและไม่สร้างภาระให้โลกเพิ่มขึ้น แต่เราก็ยังเห็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาโดยไม่สนใจโลก ถึงกับตั้งคำถามว่า ออกแบบมาเพื่ออะไร ? วันนี้แอดมินรวบรวมแพคเกจจิ้ง “อีหยังวะ” มาให้ชมกันค่ะ และอยากชวนเราหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาพลาสติกที่ตอบโจทย์ที่สุดคืออะไร ?

กล้วย!
กระป๋องน้ำอัดลม นำไปใส่ลงในกล่องพลาสติก บางๆ แล้วห่อด้วยถุงอีกหนึ่งชั้น แพคเกจจิ้งนี้เราจะได้ขยะ 3 ชิ้น ทั้ง ๆ ที่มันไม่จำเป็นเลย ซึ่งไม่แน่ใจว่าเขาทำไปเพื่ออะไร?
กล่องใส่ชาที่มีพลาสติสำหรับชาแต่แยกกันแต่ละซอง
เพื่ออะไร? บอกที
นี่คือกระเทียมที่ถูกสุขลักษณะ…แต่ผิดวิสัยเอามาก ๆ
ไม่แน่ใจว่านี่เขากำลังขายพลาสติกหรือแครอทกันแน่
นี่คือฟองน้ำชีวภาพที่ย่อยสลายได้เพราะทำจากวัสดุรีไซเคิล แต่มันมาพร้อมกับพลาสติกที่ห่อแยกมาเป็นอัน ๆ
เล่นใหญ่ ไฟกระพริบ ก็แค่แบตเตอรี่ก้อนเดียวเท่านั้น
ทั้งหมดที่คุณเห็นในแพจเกจจิ้งนี้มันจะกลายเป็นขยะ หลอดที่ใช้แล้ว 75 ชิ้น – พลาสติกหุ้มหลอด 75 ชิ้น – พลาสติกหุ้มสินค้า 1 ชิ้น ใครก็ได้คำนวนให้แอดมินทีว่าเราจะได้ขยะกี่ชิ้น
ปลาทูน่า 103 กรัม กับแพคเกจจิ้งที่ได้ขยะถึง 8 ชิ้น เยอะจนเริ่มคิดว่ามันคุ้มกับอาหารที่กินไปรึป่าว ?

การแก้ปัญหาเรื่องพลาสติก โดยเฉพาะการออกแบบแพคเกจจิ้ง ไม่ทำลายโลกถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ในฐานะผู้บริโภคหากมีสินค้าทดแทน สิ่งที่เราสามารถช่วยได้คือการปฏิเสธที่จะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์จากธุรกิจที่ไม่พยายามคิดเพื่อโลก ในขณะเดียวกันเจ้าของสินค้าควรให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังตามความเหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลกับทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนที่เล็งความสำคัญ

 


เรียบเรียง นรินทร์ ปากบารา ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ที่มา
24 สุดยอดการออกแบบแพคเกจจิ้ง ที่จะทำให้คุณคิดในใจว่า “เพื่อ!?
20 ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ไม่คิดว่า จะมีคนทำอย่างนี้จริงๆ