ธรณีสัณฐาน

ธรณีสัณฐาน

ธรณีสัณฐาน คือรูปแบบ หรือลักษณะของเปลือกโลก ที่มีรูปพรรณสัณฐานต่างกัน เช่น เป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ และอื่น ๆ จากภาพกองหินที่ปรากฏอยู่บนยอดเขาเหล่านี้  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะกายภาพ เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง

บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นแหล่งรวมแร่ธาตุสำคัญ ๆ เช่น แร่ไมก้า เพราะฉะนั้นหินในบริเวณนี้จึงเป็นหินประเภทหินแปร ที่มีต้นกำเนิดมาจากหินชนวน (Slate)  ลักษณะหินแปรมีเนื้อเป็นแผ่น ซึ่งเกิดจากการแปรสภาพจากเนื้อหินเดิม ไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก โดยการกระทำของความร้อน ความดัน หรือปฏิกิริยาเคมี  ซึ่งการแปรสภาพเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง หินใต้ผิวโลกจะมีลักษณะ “ริ้วขนาน” (Foliation) แลดูเป็นแถบลายสลับสี บิดย้วยแบบลูกคลื่น ซึ่งพบในหินชีสต์ หินไนส์ เรียกลักษณะการแปรสภาพนี้เรียกว่า “การแปรสภาพบริเวณไพศาล”

 

ดูรายละเอียดเส้นทางศึกษาธรรมชาติมออีหืดเพิ่มเติม


เรื่อง ฝ่ายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ภาพประกอบ ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร