มลภาวะกำลังคร่าประชากรวาฬเพชฌฆาตครึ่งหนึ่ง

มลภาวะกำลังคร่าประชากรวาฬเพชฌฆาตครึ่งหนึ่ง

ประชากรวาฬเพชฌฆาตกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากสารเคมีพิษและผลกระทบจากมลภาวะต่อเนื่องในมหาสมุทร อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นล่าสุด

ถึงแม้ว่าสารเคมีเป็นพิษ เช่น พีซีบี (Polychlorinated Biphenyls – PCBs) จะถูกแบนเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่สารพิษดังกล่าวก็ยังรั่วไหลมาปนเปื้อนในมหาสมุทร เข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ทำให้วาฬเพชฌฆาต นักล่าผู้อยู่บนยอดปิรามิดในทะเล เป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในโลก ยิ่งไปกว่านั้น สารเคมีดังกล่าวยังปนเปื้อนในน้ำนมที่แม่วาฬป้อนให้กับลูกวาฬตัวน้อยอีกด้วย

ระดับสารพีซีบีที่พบในวาฬเพชฌฆาตนั้นสูงกว่าระดับที่ปลอดภัยราว 100 เท่า โดยจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบสืบพันธุ์ ก่อมะเร็ง และทำลายภูมิคุ้มกัน งานวิจัยชิ้นล่าสุดประเมินสถานการณ์ประชากรวาฬเพชฌฆาตในอีก 100 ปีข้างหน้า และพบว่าวาฬเพชฌฆาตที่อาศัยอยู่นอกชายฝั่งประเทศอุตสาหกรรมจะสูญพันธุ์ภายใน 30 ถึง 50 ปี

หนึ่งในกลุ่มประชากรวาฬเพชฌฆาตที่สุ่มเสี่ยงคือนอกชายฝั่งสหราชอาณาจักร ที่พบซากวาฬล่าสุดมีสารพีซีบีมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับนอกชายฝั่งยิบรอลตาร์ ญี่ปุ่น บราซิล รวมถึงบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เผชิญภาวะอันตรายคล้ายคลึงกัน วาฬเพชฌฆาตเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กระจายพันธุ์กว้างที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันแทบไม่พบอีกแล้วรอบประเทศสเปน และอีกหลายพื้นที่

สถานการณ์นี้ไม่ต่างจากวันสิ้นโลกของวาฬเพชฌฆาต” Paul Jebson จาก Zoological Society of London ผู้เป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยให้สัมภาษณ์แม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่ยอดเยี่ยมที่สุด วาฬเพชฌฆาตก็ยังนับว่ามีอัตราสืบพันธุ์ค่อนข้างช้าวาฬเพชฌฆาตที่มีสุขภาพดีจะต้องใช้เวลา 20 ปีก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ และตั้งท้องอีกราว 18 เดือน

สารพีซีบีถูกใช้ในอุตสาหกรรมทั่วโลกตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 1930 ในส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก และสี ความเป็นพิษของสารดังกล่าวเป็นที่รับรู้กว่า 50 ปี ก่อนจะเริ่มถูกห้ามใช้ในหลายประเทศนับตั้งแต่ ค.. 1970 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี สารเคมีที่ผลิตไว้ก่อนหน้านี้ก็ยังไม่ถูกทำลาย และปนเปื้อนสู่มหาสมุทรผ่านหลากช่องทาง เช่น พื้นที่ฝังกลับขยะ

อนุสัญญากรุงสต็อกโฮล์ม ว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานถูกบังคับใช้เมื่อ ค.. 2004 เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว แต่ Paul Jebson การชำระล้างก็ยังล่าช้าผมมองว่าอนุสัญญากรุงสต็อกโฮล์มนั้นล้มเหลว ประเทศเดียวที่ผมยังพอเห็นความหวังบ้างคือสหรัฐอเมริกา เพราะที่นี่ผลิตพีซีบีคิดเป็นร้อยละ 50 ของทั้งโลก และตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณของพีซีบีก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต่างจากสหภาพยุโรปที่เราเพียงประกาศห้ามใช้ และหวังว่าสารพีซีบีจะหายไปเฉยๆ

คณะวิจัยระบุว่า สารพีซีบีเป็นหนึ่งในมลภาวะที่พบในวาฬเพชฌฆาต ตามมาด้วยลิสต์สารเคมีอีกยาวเหยียดที่เรารู้จัก และยังไม่ได้มีการวัดปริมาณสารที่มีอยู่นอกจากปัญหามลภาวะ วาฬเพชฌฆาตยังต้องเผชิญกับปริมาณอาหารที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นทูน่าและฉลามที่ถูกมนุษย์ล่าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมลภาวะทางเสียงใต้น้ำที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

งานวิจัยข้างต้นตีพิมพ์ในวารสาร Science  โดยประเมินปริมาณสารพีซีบีในวาฬเพชฌฆาต 351 ตัว ซึ่งนับเป็นงานวิจัยชิ้นที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อประเมินผลกระทบของพีซีบีต่ออัตราการรอดของลูกวาฬเพชฌฆาต ระบบภูมิคุ้มกัน และใช้แบบจำลองเพื่อประมาณจำนวนประชากรในอนาคตโดยได้ข้อสรุปว่าประชากรในญี่ปุ่น บราซิล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ช่องแคบยิบรอลตาร์ และสหราชอาณาจักรจะสูญพันธ์จนหมด

 

PHOTO : Audun Rikardsen/Science

 

Lucy Babey รองผู้อำนวยการองค์กรอนุรักษ์วาฬเพชฌฆาตระบุว่าเป็นความล้มเหลวของพวกเราที่ไม่สามารถควบคุมสารเคมีอันตรายจนทำให้เกิดการปนเปื้อนอย่างรุนแรงในมหาสมุทร ส่งผลให้กลายเป็นหายนะของวาฬเพชฌฆาต มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่การทำลายสารพีซีบีจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายในอนุสัญญากรุงสต็อกโฮล์มภายในการประชุมปีหน้า เพื่อหยุดโศกนาฎกรรมครั้งนี้นอกจากกรณีของวาฬเพชฌฆาต นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบการปนเปื่อนของสารเคมีในร่องน้ำลึกมารินาอีกด้วย

งานวิจัยดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนภัยทั่วโลกถึงสถานการณ์ปัจจุบันในมหาสมุทรของเรา” Jennifer Lonsdale ประธานองค์กร Wildlife and Country Side Link กลุ่มปกป้องวาฬให้สัมภาษณ์หากรัฐบาลสหราชอาณาจักรยังต้องการอยู่แถวหน้าด้านกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ก็ต้องตั้งเป้าหมายการทำลายสารพีซีบี และคุ้มครองมลภาวะจากเคมีภัณฑ์ที่อาจรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร

งานวิจัยชิ้นดังกล่าวยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าวาฬเพชฌฆาตซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือ เช่น นอกชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ไอซแลนด์ และแคนาดา มีอัตราการปนเปื้อนที่ต่ำมากสิ่งเดียวที่เรายังพอมีหวัง คือประชากรวาฬเพชฌฆาตในพื้นที่ห่างไกลจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้ ในขณะที่เราอาจไม่สามารถปกป้องประชากรวาฬเพชฌฆาตในพื้นที่ใกล้เขตอุตสาหกรรม” Paul Jebson สรุป

หากการเดินหน้าทำความสะอาดสารเคมีทั่วโลกประสบความสำเร็จ ประชากรที่หลงเหลืออยู่ก็อาจกลับมาแพร่ขยายพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เขตอุตสาหกรรม เขายังระบุว่าวาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์ที่ชาญฉลาด มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับครอบครัว และออกล่าเหยื่อเป็นฝูงวาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง พวกมันเคยอาศัยอยู่ได้ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ และมหาสมุทรระหว่างพื้นที่สองแห่งนี้

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Orca ‘apocalypse’: half of killer whales doomed to die from pollution
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์