สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก

สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก

รายงานโดยสหประชาชาติระบุว่า ปริมาณขยะอินเล็กทรอนิกส์หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่อาจมีแบตเตอรี่หรือปลั๊ก เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค โทรทัศน์ ตู้เย็น และของเล่นที่ใช้ถ่านหรือไฟฟ้า กำลังเป็นภัยคุกคามที่น่ากังวลต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

การปกป้องสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนในโลกที่เริ่มต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Houlin Zhao เลขาธิการ International Telecommunication Union กล่าว

PHOTO ITU – The Global E-waste Monitor 2017

 

รายงานเฝ้าระวังขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกประจำปี 2560 (The Global E-Waste Monitor 2017) โดยมหาวิทยาลัยแห่งสหประชาชาติ (UNU) และสมาคมขยะมูลฝอยสากล (International Solid Waste Association: ISWA) เน้นถึงระดับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องวิธีการกำจัดการฝังกลบรวมทั้งการเผาที่อาจไม่ปลอดภัยต่อสภาวะแวดล้อมและโรงงานคัดแยกส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้ส่วนประกอบที่เป็นอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ปนเปื้อนสู่อากาศน้ำและดิน

ในปี พ.. 2559 ทั่วโลกผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ปริมาณทั้งสิน 44.7 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นราว 3.3 ล้านเมตริกตัน หรือราวร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบกับ พ.. 2557 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 17 เป็น 52.2 ล้านเมตริกตัน ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เมื่อ พ.. 2559 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียงร้อยละ 20  หรือราว 8.9 ล้านเมตริกตันเท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล

ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และต่อครัวเรือน ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 – 2021 โดยตัวเลขระหว่าง 2017 – 2021 เป็นตัวเลขประมาณการ

 

รายงานเฝ้าระวังขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับรัฐบาลแต่ละประเทศในการพัฒนากลยุทธ์การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็น รวมถึงมาตรฐานและนโยบายในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว Houlin Zhao แสดงความเห็น

ปัจจุบัน ประชากรราวร้อยละ 53.6 เข้าถึงอินเทอร์เน็ต นโยบายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระดับชาติจึงมีบทบาทสำคัฯอย่างยิ่งต่อการดำเนินการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยมีประชากรราวร้อยละ 66 ทั่วโลกใน 67 ประเทศที่มีกฎหมายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือราวร้อยละ 44 นับตั้งแต่ พ.. 2557

ปริมาณการรีไซเคิลที่ค่อนข้างต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเมื่อ พ.. 2559 ประมาณการว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกนำมารีไซเคิล อาจมีสินแร่อย่างทอง เงิน ทองแดง แพลตินัม พัลลาเดียม และสินแร่มูลค่าสูงซึ่งสามารถนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกครั้งได้ มูลค่าราว 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขจีดีพีของหลายประเทศในโลก



ถอดความและเรียบเรียงจาก
Electronic waste poses ‘growing risk’ to environment, human health, UN report warns และ The Global E-Waste Monitor 2017
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์