กรุงเทพฯ จะรับมืออย่างไร ในวันที่เมืองใหญ่กำลังจมน้ำ

กรุงเทพฯ จะรับมืออย่างไร ในวันที่เมืองใหญ่กำลังจมน้ำ

ในวันที่กรุงเทพฯ กำลังเตรียมพร้อมในฐานะเจ้าภาพการพูดคุยประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมืองหลวงประเทศไทยที่มีประชากรกว่า 10 ล้านชีวิตก็ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยธรรมชาติ โดยมีการคาดการณ์ว่าบางส่วนของกรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำภายในทศวรรษหน้า

หลังการประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์และเป้าหมายในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก และช่วยเหลือประเทศที่เปราะบาง

กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 เมตร พื้นที่ดังกล่าวถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นพื้นที่เมืองที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เช่นเดียวกับเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จาร์กาตา และมะนิลา

พื้นที่เกือบร้อยละ 40” ของกรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมภายในราว 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากปริมาณฝนตกที่สูงขึ้นอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงลักษณะของภูมิอากาศ อ้างอิงจากรายงานธนาคารโลก โดยปัจจุบันเมืองหลวงแห่งนี้กำลังจมลงปีละ 1 ถึง 2 เซนติเมตร และกำลังเผชิญความเสี่ยงต่ออุทกภัยในอนาคตอันใกล้ธารา บัวคําศรี จากกรีนพีซให้สัมภาษณ์

“ระดับน้ำทะเลรอบกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นราวปีละ 4 มิลลิเมตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก ทำให้เมืองแห่งนี้ส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลธารา บัวคําศรี กล่าวเสริม

เมื่อ พ.. 2554 หลังจากไต้ฝุ่นพาฝนจำนวนมากพัดเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้เกิดอุทกภัยที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา 1 ใน 5 ของเมืองจมอยู่ใต้น้ำ ส่วนพื้นที่ธุรกิจในกลางเมืองรอดอุทกภัยไปได้เนื่องจากพนังกั้นน้ำที่สร้างขึ้นอย่างรวดเร็ว

แต่ส่วนอื่นของประเทศไม่ได้โชคดีเช่นนั้น อุทกภัยดังกล่าวคร่าชีวิตไปราว 500 ชีวิตก่อนที่ภัยพิบัติจะบรรเทาลง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเปลี่ยนสภาพเป็นเมืองโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมดั้งเดิม และการพังทลายของชายฝั่งจะทำให้กรุงเทพฯ และผู้อยู่อาศัยอยู่ในภาวะวิกฤติในอีกไม่ช้า

จากน้ำหนักของตึกระฟ้า ทำให้กรุงเทพฯ ทรุดตัวลงอย่างช้าๆ เมืองแห่งนี้จึงกลายเป็นเหยื่อของการเติบโตและพัฒนาที่ก้าวกระโดด

ศุภกร ชินวรรโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า การก่อสร้างถนนที่ทับคลองดั้งเดิมทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายยิ่งขึ้นการก่อสร้างดังกล่าวได้ทำลายล้างระบบระบายน้ำตามธรรมชาติเขายังกล่าวเสริมว่า คลองเล็กคลองน้อยที่เคยมีอยู่ทั่วกรุงเทพฯ คือที่มาของฉายาเวนิสแห่งตะวันออก

การทำนากุ้ง และอีกสารพัดการเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งบางครั้งทับพื้นที่ป่าชายเลนดั้งเดิมที่เคยทำหน้าที่ปกป้องคลื่นลมแรงในฤดูมรสุม ยังส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของชายฝั่งใกล้กับเมืองแห่งนี้ นั่นหมายความว่า กรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับน้ำท่วมจากทะเลทางตอนใต้ และน้ำหลากในฤดูฝนจากทางเหนือ

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ในอนาคตอันใกล้ เราอาจจะเผชิญกับพายุที่มีความรุนแรงยิ่งขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้ศุภกร ชินวรรโณ กล่าว

ณรงค์ เรืองศรี ผู้บริหารสำนักระบายน้ำ กรุงเทพฯ ยอมรับว่าจุดอ่อนของกรุงเทพฯ คือท่อเล็กท่อน้อยและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเมืองพื้นที่ที่เคยเป็นที่รับน้ำตามธรรมชาตินั้นไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้วเขากล่าวระบบระบายน้ำของเราสามารถจัดการได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องใช้งบประมาณอีกมากเพื่อเพิ่มกำลังการระบาย

ปัจจุบัน รัฐบาลกำลังเดินหน้าป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อสร้างโครงข่ายคลองระยะทางกว่า 2,600 กิโลเมตรพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ 8 แห่งใต้ดินเพื่อถ่ายเทน้ำในช่วงวิกฤติ

เมื่อ พ.. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้สร้างพื้นที่รับน้ำขนาด 29 ไร่ใจกลางเมือง ที่ออกแบบมาเพื่อรับน้ำฝนเพื่อปกป้องไม่ให้ชุมชนโดยรอบได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

แต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพียงเท่านี้ อาจไม่สามารถรับมือวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังจะมาถึงในอนาคต

 


ถอดความและเรียบเรียงจาก Bangkok is sinking. How will Thailand’s capital cope when flooding disaster strikes again? ตีพิมพ์ใน South China Morning Post
ถอดความและเรียบเรียงโดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์